บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่่่อในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มหัศจรรย์ธรรมชาติ

ความหลากหลายทางชีวภาพของหอย

ความหลากหลายทางชีวภาพของหอย
บริเวณชายฝั่ง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
        สัตว์จำพวกหอย (Mollusca)  เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีความสำคัญมากในระบบนิเวศทางทะเล เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้หอยยังมีความสำคัญต่อระบบห่วงโซ่อาหารที่มีความสมดุลต่อระบบนิเวศทางทะเลได้อย่างเหมาะสม และยังเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอีกด้วย อ่าวขนอมจัดเป็นแหล่งที่มีสภาพทางระบบนิเวศทางทะเลที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง  นอกจากนี้อ่าวขนอมยังมีพื้นที่อยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้  ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทางทะเลสูง
        ดังนั้นการศึกษา ชนิด ความหลากหลายและการแพร่กระจายของหอยบริเวณอ่าวขนอมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อนำผลที่ได้ใช้ประกอบการประเมินสภาวะทางทรัพยากรและหาแนวทางการจัดการทรัพยากรหอยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ



               http://eic.wu.ac.th/Biodiversity/biodiv_mollus.html

ชนิดและความหลากหลายของผีเสื้อ

จำนวนชนิดของผีเสื้อ ทั้งหมดบนโลกของเรานั้น ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปให้สิ้นสุดข้อมูลได้ เพราะผีเสื้อมีการแบ่งและเจริญเติบโตออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆ มากมาย  สำหรับผีเสื้อกลางวัน ที่มีการสำรวจพบและจำแนกชนิดไว้แล้วทั่วโลก มีกว่า 19,000 ชนิด แต่สามารถที่จะแบ่งแยกออกเป็นวงศ์ ได้ จำนวน  5 วงศ์ ได้แก่
          -    วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae)       มีจำนวน           572     ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)    มีจำนวน         1,222     ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nympharidae)   มีจำนวน         7,461     ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Lycaenidae)       มีจำนวน         6,564     ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae)        มีจำนวน         3ส่วนในประเทศไทยยังไม่สามารถระบุจำนวนชนิดได้แน่นอน แต่คาดว่ามีไม่น้อยกว่า 1,300 ชนิด ได้แก่
          -    วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae)       พบไม่น้อยกว่า     64      ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)    พบไม่น้อยกว่า     58      ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nympharidae)   พบไม่น้อยกว่า    367     ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน (Lycaenidae)       พบไม่น้อยกว่า    369     ชนิด
          -    วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae)        พบไม่น้อยกว่า     275     ชนิด
ผีเสื้อที่เป็นสัตว์คุ้มครองในประเทศไทย
    ผีเสื้อและแมลงทุกชนิด จัดเป็น “สัตว์ป่า” นับตั้งแต่มีการประกาศพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ผีเสื้อหลายชนิดจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ โดยห้ามซื้อขายและห้ามมีไว้ครอบครอง ผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองได้แก่
          ผีเสื้อกลางคืน
               -     ผีเสื้อค้างคาว (Lyssa zampa)
               -     ผีเสื้อหางยาวทุกชนิดในสกุล Actias
ผีเสื้อกลางวัน
               -    ผีเสื้อสมิงเชียงดาวทุกชนิดในสกุล Bhutanitis
               -    ผีเสื้อรักแร้ขาว (Papilio protenor)
               -    ผีเสื้อไกเซอร์ทุกชนิดในสกุล Teinopalpus
               -    ผีเสื้อนางพญาทุกชนิดในสกุล Stichophthalma
               -    ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ (Meandrusa sciron)
               -    ผีเสื้อถุงทองทุกชนิดในสกุล Troides
               -    ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว (Papilio palinurus)
              http://www.khaoyaizone.com/

ความหลากหลายของกล้วยไม้ป่า

ความหลากหลายของกล้วยไม้ป่า
        ด้วยความหลากหลายของป่าเมืองไทย ถิ่นอาศัยของกล้วยไม้ป่าก็หลากหลาย ในปัจจุบันพบกล้วยไม้ป่าในประเทศไทย 168 สกุล ประมาณ 1176 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ทุกภูมิภาค โดนในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันออกไป กล้วยไม้ที่ชอบอากาศเย็นจัด และชอบแสงรำไร มักพบได้ตามป่าดงดิบเขาทางภาคเหนือ และป่าไม่ผลัดใบใบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนกล้วยไม้ที่ชอบอากาศร้อน แสงแดดจัด ความชื้นสูง มักพบได้แถวคาบสมุทรทางภาคใต้
        กล้วยไม้ที่ถูกพบมากที่สุด คือกล้วยไม้พวกอิงอาศัย เช่นพวกสกุลหวาย สกุลสิงโตกลอกตา ส่วนกล้วยไม้ดิน พบได้น้อยกว่า สกุลที่มีความหลากหลายมากที่สุดคือ สกุลนางอั้ว พบประมาณ 37 ชนิด รองลงมาคือ สกุลแห้วหมูป่า ....
        ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลเอื้องกระดุม ที่พบทั่วโลกประมาณ 11 ชนิด ในจำนวนนั้น พบในไทย 8 ชนิด และสกุลว่านจูงนาง พบในไทย 7 ชนิด จาก 10 ชนิดทั่วโลก ซึ่งเป็นแหล่งที่พบมากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน
        ผืนป่าอนุรักษ์ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยล้วนเป็นแหล่งอาศัยสำคัญของกล้วยไม้ป่า หลายพื้นที่พบกล้วยไม้ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป บางพื้นที่พบกล้วยไม้ป่าหายาก หรือกล้วยไม้ไกล้สูญพันธุ์ และบางพื้นที่พบกล้วยไม้เฉพาะถิ่น ซึ่งเป็นถิ่นฐานที่มีสภาพแวดล้อมจำเพาะที่กล้วยไม้ชนิดนั้นๆปรับตัวอยู่ได้อย่างดี เช่น กล้วยไม้สิงโตนิพนธุ์ (Bulbophyllum nipondii Seidenf.) ที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขาหลวง จ.เลย ปัจจุบันกล้วยไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทยมีประมาณ 175 ชนิด ทั้งหมดจัดเป็นกล้วยไม้หายากและมีความสำคัญ
        ในอดีตมีการเก็บต้นกล้วยไม้จากป่าเพื่อขายทั้งในและนอกประเทศจำนวนมาก และเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เนื่องจากป่าถูกทำลายมากขึ้น ทำให้กล้วยไม้ในแหล่งกำเนิดลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีการกำหนดพืชในวงศ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นพันธุ์แท้ทุกชนิดเป็นพืชอนุรักษ์



        กล้วยไม้ป่ามีข้อดีคือติดฝักง่าย แต่ะฝักมีเมล็ดจำนวนมากมาย แต่ตามธรรมชาติงอกได้เพียงไม่กี่ต้น เนื่องจากเมล็ดไม่มีอาหารสะสมอยู่ภายใน การเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในสภาพปลอดเชื้อจะทำให้ได้ต้นอ่อนจำนวนมาก แต่มักำบปัญหาในการเลี้ยงลูกกล้วยไม้ เพราะลูกกล้วยไม้ป่าส่วนใหญ่เลี้ยงยาก จะตายเมื่อต้นอ่อนแอ หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
http://cortun9.blogspot.com/p/bulbophyylum-cirrhopetalum-orchids.html