บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่่่อในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

จากจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์เมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว จนกระทั่งถึงปัจจุบันสิ่งมีชีวิตได้มีวิวัฒนาการแยกออกเป็นชนิดต่างๆมากมาย โดยแต่ละชนิดมีลักษณะ และการดำรงชีวิตต่างๆกันเช่น บางชนิดมีลักษณะง่ายๆเหมือนชีวิตแรกเกิด บางชนิดมีลักษณะสลับซับซ้อน บางชนิดดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ บางชนิดดำรงชีวิตอยู่บนบก เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการศึกษาและความเข้าใจถูกต้องตรงกัน นักวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดแบ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเหล่านี้ออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่จนถึงหมวดหมู่ย่อยตามลำดับดังนี้
1. อาณาจักร (Kingdom)
2. ไฟลัม (Phylum )
3. คลาส (Class)
4. ออร์เดอร์ (Order )
5. แฟลมมิลี่ (Family)
6. จีนัส (Genus)
7. สปีชีส์ (Species)
ตัวอย่างการหมวดหมู่ของมนุษย์
ลำดับ1 หมวดหมู่ ชื่อในหมวดหมู่Kingdom Animalia
ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
2 หมวดหมู่ Phylum Chordata ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีแกนลำตัว
3 หมวดหมู่ Class Mammalia ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีต่อมน้ำนม ขนสั้นเล็ก ๆ (hair)
4 หมวดหมู่ Order Primate ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีนิ้ว5นิ้ว ปลายนิ้วมีเส้นแบน นิ้วหัวแม่มือพับขวางกับนิ้วอื่นๆ
5 หมวดหมู่ Family Homonidaeลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ เดิน 2 ขา มีฟันเขี้ยวเล็กอยู่ระดับเดียวกับฟันอื่น
6 หมวดหมู่ Genus Homo ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ สามารถประดิษฐ์เครื่องมือและสะสมเครื่องมือไว้
7 หมวดหมู่ Species Homo sapiens sapiens ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีความสามารถเชิงศิลป์ วาดรูปไว้
นักวิทยาศาสตร์ได้จัดหมวดหมู่ใหญ่ๆของสิ่งมีชีวิตเป็น 4 อาณาจักร(Kingdom) คือ
1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera) เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกที่นิวเคลียสไม่มีผนังห่อหุ้ม (prokaryotic nucleus) และไม่มีแวคคิวโอล เป็นเซลล์เดียวหรือต่อกันเป็นสายภายในเซลล์ไม่แสดงขอบเขตของนิวเคลียสชัดเจนมีรูปร่างหลายแบบทั้งกลม แท่ง และเกลียว ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และแบคทีเรีย
2. อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม (eukaryotic nucleus) เป็นพวกเซลล์เดี่ยวที่ทำหน้าที่ในเซลล์ครบอย่างสมบูรณ์ ภายในเซลล์มีขอบเขตของนิวเคลียสที่ชัดเจน บางชนิดมีอวัยวะช่วยในการเคลื่อนที่ บางชนิดมีผนังเซลล์คล้ายเซลล์พืชแต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ดำรงชีวิตโดยการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่ ยูกลีนา ไดอะตอม อะมีบา พารามีเซียม เห็ด รา
3. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วยหลายเซลล์ มีการเปลี่ยนแปลงทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ดำรงชีวิตด้วยการสังเคราะห์แสง มีคลอโรฟิลล์ เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ พบได้ทั้งบนบกในน้ำ อาณาจักรนี้เป็นพืชทั้งหมดนับตั้งแต่ สาหร่ายสีเขียวขึ้นไปจนถึงพืชไม้ดอก ได้แก่ ต้นหอม ต้นปรง +
4. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอย2ฝา แมลงสาบ

อ้างอิง :http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-311.html

ทะเลอันดามัน















ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=8C38f8LeXrI

ความหลากหลายของระบบนิเวศที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological Diversity)

คือการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดทั้งพืช,สัตว์และจุลินทรีย์ในพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
โดยต่างก็มีบทบาทและปฏิกิริยาต่อกันอย่างสลับซับซ้อนทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัว
ให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบๆตัวได้อย่างเหมาะสม เราสามารถแบ่งระบบนิเวศอย่างกว้างๆออกได้เป็น

1. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
  
แหล่งน้ำจืดเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั่วไป เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและอินทรียสาร เหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ
2. ระบบนิเวศทะเล

       ระบบนิเวศหาดหิน     เป็นระบบนิเวศในบริเวณชายฝั่งที่ถูกน้ำซัดขึ้นมาตลอดเวลา พื้นผิวของหาดหินจะเปียกและแห้งสลับกันไปในช่วงวันหนึ่งๆ อุณหภูมิของหาดจะแตกต่างกันตามเวลา
       ระบบนิเวศหาดทราย  เป็นบริเวณชายฝั่งที่ถูกน้ำซัดขึ้นมาตลอดเวลาเช่นกัน อุณหภูมิของผิวทรายที่อยู่ด้านล่างและด้านบนจะแตกต่างกัน ลักษณะของพื้นทรายก็ต่างกัน
       ระบบนิเวศในทะเล    กินเนื้อที่กว้างใหญ่ ได้แก่ บริเวณไหล่ทวีป ทะเลและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตคือแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสาหร่ายทะเล
      ระบบนิเวศแนวปะการัง   ปะการังเกิดจากสัตว์พวกปะการังปล่อยสารหินปูนออกมาหุ้มตัว มีการสร้างโครงหินปูนแข็งต่อกันเป็นก้อนปะการัง เป็นแหล่งอาหาร ที่หลบภัยและอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ทะเล
3. ระบบนิเวศป่าชายเลน
  
ป่าบริเวณชายฝั่งของประเทศในเขตร้อน ดินเป็นดินเลนเกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ มีความแตกต่างของกรดเบส วัดได้จากปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซึยม

4. ระบบนิเวศป่าไม้

ป่าสนเขา
เป็นระบบนิเวศที่มีต้นสน 2 ใบและ 3 ใบ มักขึ้นอยู่ในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ น้ำมันจากสนเป็นน้ำมันอย่างดี จึงต้องมีการป้องกันไฟอย่างรัดกุมและเข้มงวด
ป่าพรุ   
อยู่ถัดจากชายฝั่งทะเลเข้ามามีน้ำท่วมหรือชื้นแฉะตลอดปี ดินมักเป็นดินทรายหรือโคลน พันธุ์ไม้ที่พบมาก คือ กระเบาน้ำ หงอนไก่ เสม็ด
ป่าดิบชื้น   
ป่าทึบเขียวชอุ่ม ฝนตกชุก พบมากที่สุดทางภาคใต้ และชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก พันธุไม้ที่พบได้แก่ยาง ตะเคียน ตะแบก
ป่าดิบแล้ง   
ป่าโปร่งชื้นสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตร พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพันธุ์ไม้ที่พบยางแดง มะค่าโมง ตะเคียนหิน
ป่าดิบเขา
พบบริเวณเทือกเขาสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1 , 000 เมตร จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธาร พันธุ์ไม้ที่พบ อบเชย กำยาน
ป่าเบญจพรรณ
ป่าโปร่งมีไม้ปะปนกันหลายชนิด พบได้ทั่วไปแต่ไม่พบในภาคใต้ พันธุไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้สัก แดง ไผ่ มะค่า








ที่มา  http://pirun.ku.ac.th/~g4886060/ecosite/diversity.htm

ความหลากหลายของสาหร่ายแห่งลุ่มน้ำทองผาภูมิ

    สาหร่ายมีความสำคัญต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำ  ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตเบื้องต้นในห่วงโซ่อาหารและผลิตออกซิเจนสู่แหล่งน้ำในกระบวนการสังเคราะห์แสง  นอกจากนี้ยังเป็นอาหารคนและอาหารสัตว์  สามารถใช้บำบัดน้ำเสียและเป็นดัชนีชีวภาพบ่งชี้คุณภาพน้ำได้


     ในระบบนิเวศน้ำไหล สาหร่ายที่เจริญได้ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดเกาะติดกับพื้นท้องน้ำ ได้แก่ สาหร่ายขนาดใหญ่และไดอะตอมพื้นท้องน้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง สาหร่ายแต่ละชนิดในกลุ่มดังกล่าวสามารถเจริญได้ในแหล่งน้ำที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำได้ อีกประการหนึ่งสาหร่ายในกลุ่มที่กล่าวมามีการศึกษากันน้อยมากในประเทศไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภาคตะวันตกของประเทศ เช่น ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีแห่งนี้ยังไม่มีรายงานการศึกษาสิ่งมีชีวิตเหล่านี้


    การศึกษาความหลากหลายของสาหร่ายขนาดใหญ่และไดอะตอมพื้นท้องน้ำในพื้นที่โครงการทองผาภูมิ 72 พรรษามหาราช อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2544 – มกราคม 2546  จากจุดเก็บตัวอย่างทั้งหมด 8 จุด พบสาหร่ายขนาดใหญ่ทั้งหมด 61 สปีชีส์ จัดอยู่ใน 4  ดิวิชัน ส่วนใหญ่เป็นสาหร่ายสีเขียว Zygnema spp., Spirogyra spp. และ Stigeoclonium spp. ซึ่งจัดอยู่ใน Division Chlorophyta นอกจากนี้ยังพบสาหร่ายสีแดง Batrachospermum spp. และ Audouinella spp. ใน Division Rhodophyta และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Nostochopsis lobatus Wood และ Phormidium spp. ใน Division Cyanophyta 


     ส่วนไดอะตอมพื้นท้องน้ำ พบ 162 สปีชีส์ ใน Division Bacillariophyta ส่วนใหญ่เป็นไดอะตอมที่มีรูปร่างยาวเรียวคล้ายกระสวย (pennate diatoms) เช่น Achnanthes spp., Frustulia spp., Navicula spp. และ Gomphonema spp. นอกจากนี้ได้พบสาหร่ายชนิดที่ยังไม่มีรายงานมาก่อนในประเทศไทย 56 สปีชีส์  โดยเป็นสาหร่ายขนาดใหญ่ 11 สปีชีส์  และไดอะตอมพื้นท้องน้ำ 45  สปีชีส์  


    จากการใช้โปรแกรม Multivariate Statistical Package (MVSP) เวอร์ชั่น 3.1 เพื่อนำมาหาชนิดของสาหร่ายที่สามารถนำมาใช้ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำได้  พบว่า สาหร่ายขนาดใหญ่ Batrachospermum gelatinosum (Linnaeus) de Candolle และไดอะตอมพื้นท้องน้ำ Achnanthes minutissima Kützing var. minutissima และ Brachysira cf. neoexilis Lange-Bertalot สามารถใช้ติดตามตรวจสอบน้ำที่มีคุณภาพดีถึงปานกลางได้ ส่วนสาหร่ายขนาดใหญ่ Stigeoclonium lubricum (Dillwyn) Kützing และ Nostochopsis lobatus Wood และไดอะตอมพื้นท้องน้ำ Achnanthes biasolettian Grunow var. biasolettiana และ Gomphonema lagenula Kützing สามารถใช้ติดตามตรวจสอบน้ำที่มีคุณภาพปานกลางค่อนข้างเสียได้  


     องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถาบันการศึกษาหรือชุมชนท้องถิ่นที่อยู่บริเวณที่ทำการวิจัยหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจในการใช้สาหร่ายขนาดใหญ่มาติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ ทั้งนี้เนื่องจากสาหร่ายขนาดใหญ่นั้นสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแตกต่างกับไดอะตอมที่จะต้องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมในการที่ชุมชนนั้นๆ จะนำมาใช้ในการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในบริเวณที่อาศัยอยู่ และช่วยกันคอยสอดส่องดูแลระวังภัยให้กับแหล่งน้ำที่ตนต้องใช้ในชีวิตประจำวันให้มีน้ำคุณภาพดีใช้ต่อไปอย่างยั่งยืน


สาหร่ายขนาดใหญ่ซึ่งแต่ละชนิดสามารถนำมาติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำที่แตกต่างกันได้




ไดอะตอมพื้นท้องน้ำ ในลุ่มน้ำทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ที่มา http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=4153229971682995067

โลกของเรา สิ่งมีชีวิต