ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological Diversity)
คือการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดทั้งพืช,สัตว์และจุลินทรีย์ในพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
โดยต่างก็มีบทบาทและปฏิกิริยาต่อกันอย่างสลับซับซ้อนทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัว
ให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบๆตัวได้อย่างเหมาะสม เราสามารถแบ่งระบบนิเวศอย่างกว้างๆออกได้เป็น
1. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
แหล่งน้ำจืดเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั่วไป เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและอินทรียสาร เหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ
2. ระบบนิเวศทะเล
ระบบนิเวศหาดหิน เป็นระบบนิเวศในบริเวณชายฝั่งที่ถูกน้ำซัดขึ้นมาตลอดเวลา พื้นผิวของหาดหินจะเปียกและแห้งสลับกันไปในช่วงวันหนึ่งๆ อุณหภูมิของหาดจะแตกต่างกันตามเวลา
ระบบนิเวศหาดทราย เป็นบริเวณชายฝั่งที่ถูกน้ำซัดขึ้นมาตลอดเวลาเช่นกัน อุณหภูมิของผิวทรายที่อยู่ด้านล่างและด้านบนจะแตกต่างกัน ลักษณะของพื้นทรายก็ต่างกัน
ระบบนิเวศในทะเล กินเนื้อที่กว้างใหญ่ ได้แก่ บริเวณไหล่ทวีป ทะเลและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตคือแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสาหร่ายทะเล
ระบบนิเวศแนวปะการัง ปะการังเกิดจากสัตว์พวกปะการังปล่อยสารหินปูนออกมาหุ้มตัว มีการสร้างโครงหินปูนแข็งต่อกันเป็นก้อนปะการัง เป็นแหล่งอาหาร ที่หลบภัยและอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ทะเล
3. ระบบนิเวศป่าชายเลน
ป่าบริเวณชายฝั่งของประเทศในเขตร้อน ดินเป็นดินเลนเกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ มีความแตกต่างของกรดเบส วัดได้จากปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซึยม
4. ระบบนิเวศป่าไม้
ป่าสนเขา
เป็นระบบนิเวศที่มีต้นสน 2 ใบและ 3 ใบ มักขึ้นอยู่ในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ น้ำมันจากสนเป็นน้ำมันอย่างดี จึงต้องมีการป้องกันไฟอย่างรัดกุมและเข้มงวด
ป่าพรุ
อยู่ถัดจากชายฝั่งทะเลเข้ามามีน้ำท่วมหรือชื้นแฉะตลอดปี ดินมักเป็นดินทรายหรือโคลน พันธุ์ไม้ที่พบมาก คือ กระเบาน้ำ หงอนไก่ เสม็ด
ป่าดิบชื้น
ป่าทึบเขียวชอุ่ม ฝนตกชุก พบมากที่สุดทางภาคใต้ และชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก พันธุไม้ที่พบได้แก่ยาง ตะเคียน ตะแบก
ป่าดิบแล้ง
ป่าโปร่งชื้นสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตร พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพันธุ์ไม้ที่พบยางแดง มะค่าโมง ตะเคียนหิน
ป่าดิบเขา
พบบริเวณเทือกเขาสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1 , 000 เมตร จัดเป็นป่าต้นน้ำลำธาร พันธุ์ไม้ที่พบ อบเชย กำยาน
ป่าเบญจพรรณ
ป่าโปร่งมีไม้ปะปนกันหลายชนิด พบได้ทั่วไปแต่ไม่พบในภาคใต้ พันธุไม้ที่พบ ได้แก่ ไม้สัก แดง ไผ่ มะค่า
ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~g4886060/ecosite/diversity.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น