บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่่่อในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญของ ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความสำคัญของ ความหลากหลายทางชีวภาพ


      เราทุกคนต่างมีความสัมพันธ์และต้องพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพ ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แม้ว่าบ่อยครั้งจะไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คนเรามักเห็นความสำคัญ  ของความหลากหลายทางชีวภาพ จากประโยชน์โดยตรงที่เราได้รับ นั่นคือการนำมาเป็นอาหาร แต่ความจริงแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพนั้น มีบทบาทตามธรรมชาติกว้างขวางมาก ในด้านการให้บริการทางนิเวศวิทยา ยกตัวอย่างเช่น จุลินทรีย์และแบคทีเรีย ช่วยย่อยสลายขยะ ดให้กลายเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช แมลงช่วยผสมเกสรให้ดอกไม้และพืชผลทางการเกษตร แนวปะการังและป่าชายเลนช่วยปกป้องชายฝั่งให้ปลอดภัยจากคลื่นลม สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ที่คนเราได้รับจากธรรมชาติโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ บ่อยครั้งจึงพบว่าคนเรามองข้ามความสำคัญของมันไปและถึงแม้ว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังต้องพัฒนาอีกมาก เพื่อที่จะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพ กับการให้บริการทางนิเวศวิทยา แต่เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสิ่งที่ความหลากหลายทางชีวภาพให้บริการแก่เรานั้น หากไม่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนในทุกระดับ ไม่ว่าคนรวยหรือคนจนก็ตาม และในความเป็นจริงนั้นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดคือ คนจนและชุมชนท้องถิ่น เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ดำรงชีวิตประจำวันใกล้ชิดและพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด และยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของความหลากหลายทางชีวภาพที่สุดอีกด้วย และการที่คนเราเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ และไม่สามารถแยกตัวออกไปโดยไม่พึ่งพาธรรมชาติได้นั้น ทำให้การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพมีผลต่อความเป็นอยู่ของคนเรา จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน 5 พันล้านปีของโลก สิ่งมีชีวิตบนโลกมีทั้งเกิดขึ้นใหม่และสูญพันธุ์ไปตลอดเวลาตามกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอด 3.8 พันล้านปีที่ผ่านมา มีหลักฐานการเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต 5 ครั้งในอดีต แต่ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเองนั้น พบว่าสิ่งมีชีวิตได้มีการสูญพันธุ์ และเกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด ในยุคปัจจุบันนี้ และเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์เอง ทั้งจากกิจกรรมทางตรงและทางอ้อม โดยจากอัตราการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โลกจะสูญเสียชนิดพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปประมาณร้อยละ 20 ภายใน 30 ปีข้างหน้า และร้อยละ 50 ของชนิดพันธุ์ภายในสิ้นศตวรรษหน้า (Myers, 1993) จากอัตราการสูญเสียที่สูงมาก ทำให้ประชาคมโลกเริ่มหันมาตระหนักถึงความสำคัญและการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ จึงเกิดอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity; CBD) ขึ้นมาในปี ค.ศ.1992 โดยมี 197 ประเทศลงนามในการประชุมที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร และมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.1993 โดยมีเนื้อหาให้คํามั่นสัญญาทางกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การเงิน การเข้าถึงเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการแบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งนับว่า เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต อนุสัญญาฯ มีวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และการพัฒนา และยังมีการเชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่น ระหว่างความต้องการของประชาชนและการอนุรักษ์ โดยวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ ประการแรก คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ประการที่สอง คือ การใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และประการที่สาม คือ การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างยุติธรรมและเท่า เทียมในการใช้ทรัพยากรพันธุกรรรม





        ประเทศไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2547 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่การลงนามรับรองอนุสัญญาฯ ในปี พ.ศ.2535 โดยมีหน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบเป็นหน่วยงานประสานงานอนุสัญญาฯ คือ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการดําเนินงานสอดคล้องกับพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเผยแพร่ความรู้ ความตระหนักเกี่ยวกับความสําคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น และนับว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงประเทศหนึ่ง แต่ทรัพยากรสัตว์ป่าของไทยหลายชนิด ได้รับการยืนยันแล้วว่า ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สมัน นกช้อนหอยใหญ่ และนกพงหญ้า นอกจากนั้น แรดชวา กูปรี นกกระสาปากเหลือง นกช้อนหอยดํา นกกระเรียน และจระเข้ปากกระทุงเหว ก็เชื่อว่า ได้สูญพันธุ์จากสภาพธรรมชาติไปแล้ว (สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, 2540) ในขณะที่พืชหลายชนิด ตกอยู่ในสภาวะหายากและใกล้จะสูญพันธุ์ โดยมีการรายงานว่าพืชในประเทศไทยประมาณ 400 ชนิด เป็นพืชที่มีภาวะใกล้จะสูญพันธุ์ และประมาณ 600 ชนิด เป็นพืชหายาก (OEPP, 1992) ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์มีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การค้าสัตว์และพืชป่าอย่างผิดกฎหมาย การรบกวนสภาพที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและระบบนิเวศ เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ทั้งป่าดิบชื้นและป่าชายเลน การก่อสร้างอ่างเก็บนํ้าและเขื่อนพลังนํ้า ความเป็นเมือง การท่องเที่ยว และภาวะมลพิษ ล้วนแต่ก่อให้เกิดการคุกคามต่อชีวิตในป่า และส่งผลต่อการลดลงของจำนวนประชากรพืชและสัตว์ป่าทั้งสิ้น
สถานภาพปัจจุบันและอนาคตของความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย อยู่ในภาวะที่กล่าวได้ว่า ล่อแหลมอย่างยิ่ง เนื่องจากการเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสูงมากในทุกระดับของสังคม แต่ความพยายามในการอนุรักษ์ของประเทศไทยไม่สามารถที่จะทันการณ์ต่ออัตราการทําลาย อีกทั้งหลายๆปัจจัยเอื้ออํานวยต่อการใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น ในขณะที่ปัจจัยที่เอื้ออํานวยต่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนยังไม่พอเพียง ปัจจัยสำคัญที่ยังขาดอยู่คือฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่น ซึ่งหมายความไปถึง การที่ประเทศไทยขาดนักอนุกรมวิธานด้วย รวมไปถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันจะนำไปสู่การได้ประโยชน์จาก ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ทั้งต่อชุมชนท้องถิ่นเอง และสังคมโดยรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ การสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้ชุมชนรู้จัก และทราบถึงความสำคัญ ของความหลากหลายทางชีวภาพ ของท้องถิ่นของตนเองก่อน ทางสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการสำรวจและรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ ในการจัดทำฐานข้อมูลและภูมิปัญญาความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน ในการเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืนต่อไป โดยในปีงบประมาณ 2552 นี้ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวในพื้นที่ 3 กลุ่มป่า ใน 3 จังหวัดของภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมพื้นที่เป้าหมาย 18 ตำบล ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ และคณะการแพทย์แผนไทย ได้รับเป็นที่ปรึกษาและดำเนินโครงการในส่วนพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ที่มาhttp://www.nhm.psu.ac.th/museum/index.php?option=com_content&view=article&id=127:2009-09-15-03-37-02&catid=43:2008-08-28-07-16-24&Itemid=65

สัตว์ป่า

สาเหตุแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

สาเหตุแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
        การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ที่เป็นผู้ดำเนินการสามารถระบุสาเหตุสำคัญๆ ได้ดังนี้ 
1.    การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและบริโภค ที่ทำการเกษตรแบบมุ่งเน้นการค้า มีการผลิตสายพันธุ์เดียวโดยละทิ้งสายพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม มีการใช้สารเคมีมากขึ้นในการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช เกิดสารพิษตกค้างในดินและแหล่งน้ำ กระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในดิน และสัตว์น้ำ
 2.     การเติบโตของประชากรและการกระจายตัวของประชากร ทำให้เกิดการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ
3.      การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์นานาพันธุ์   เช่น  การทำลายป่า  การล่าสัตว์  การอพยพหนีภัยธรรมชาติของสัตว์
4.      มีการนำมาทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์มากเกินไป 
5.    การตักตวงผลประโยชน์จากชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ป่า  เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยการค้าขายสัตว์และพืชป่าแบบผิดกฎหมาย  
6.     การนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำลายสายพันธุ์ท้องถิ่น 
7.     การสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และขยะ เป็นต้น 
8.     การเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจ  และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของโลก  เช่น  อุณหภูมิโลกสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของน้ำทะเล  ภัยแล้งทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ การเกิดไฟป่า ในช่วงฤดูฝน  เกิดปัญหาน้ำท่วม โคลนถล่ม เป็นต้น 
9.    การอ้างสิทธิบัตร เช่น ประเทศญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรการผลิตสารแก้โรคกระเพาะจากต้นเปล้าน้อย ซึ่งเป็นพันธุ์พืชที่มีในประเทศไทย (สรุปข่าวสิ่งแวดล้อมปี  2543
10.  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)ด้านการตัดต่อหน่วยพันธุกรรมหรือ  จีเอ็มโอ (GMO; Genetically Modified Organisms) หรือพันธุวิศวกรรมศาสตร์ (genetic  engineering) 

สาเหตุของการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่่า

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงป่าไม้ในประเทศไทย (Forest Insect Biodiversity in Thailand)

ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงป่าไม้ในประเทศไทย (Forest Insect Biodiversity in Thailand)
            แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีชนิดและปริมาณมากที่สุดในโลก ซึ่งแมลงแต่ละชนิดนั้นอาศัยและปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมหนึ่งๆ ที่เหมาะสมกับตัวมันได้อย่างดี จนเป็นที่ยอมรับว่าแมลงนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวได้ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ดังเช่นการปรับตัวเพื่อการพรางตัวเองให้รอดพ้นจากสายตาของผู้ล่าหรือพรางตัวเพื่อมิให้เหยื่อมองเห็น การมีสีสรรที่ทำให้มองเห็นว่าตัวมันตัวใหญ่หรือน่าเกรงขาม การปรับอวัยวะส่วนต่างๆ ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมโดยรอบ  นอกจากนั้น วงจรชีวิต (Life Cycle) ของแมลงก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตประเภทนี้ประสบความสำเร็จในการขยายเผ่าพันธุ์ โดยทั่วไปวงจรชีวิตของแมลงแต่ละชนิดมีวงจรชีวิตที่สั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทำให้สามารถปรับตัวและมีวิวัฒนาการที่สามารถมองเห็นได้ชัดภายในระยะเวลาที่ไม่นาน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่การดื้อยาของแมลงศัตรูทางการเกษตรจากการใช้สารเคมีอย่างหนักเพื่อปราบแมลงศัตรูเหล่านี้ เป็นต้น ขนาดของแมลงนั้นเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันโดยทั่วไปเช่นกัน บางชนิดมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศในการมอง เช่นไร, เพลี้ยบางชนิด เป็นต้น ในขณะที่แมลงบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่นด้วงกว่างบางชนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ และตั๊กแตนยักษ์ในประเทศนิวซีแลนด์ที่อาจจะมีขนาดใหญ่กว่ากระต่ายป่าทั่วไป แมลงจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับต้นของห้วงโซ่อาหารในระบบนิเวศและมีบทบาทสำคัญเช่นช่วยในการผสมเกสร นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการผุพังย่อยสลายในระบบนิเวศ แมลงหลายชนิดมีประโยชน์ในทางการแพทย์ ในการศึกษา เป็นอาหารและยารักษาโรค แต่ในขณะเดียวกันแมลงบางชนิดก็มีโทษต่อมนุษย์เช่นกัน เช่นเป็นพาหะนำโรค เป็นศัตรูทางการเกษตร เป็นต้น
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร มีสังคมพืชที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคทั้งสังคมพืชป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) และสังคมพืชป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ซึ่งสังคมพืชเหล่านี้พบอยู่ในพื้นที่ที่หลากหลายแตกต่างกันไปตั้งแต่บริเวณระดับน้ำทะเล (เช่นป่าชายเลน, ป่าชายหาด) เรื่อยไปจนถึงบริเวณยอดเขาสูง (เช่นป่าดิบเขา, ป่าสนเขา) จากความหลากหลายของสังคมพืชที่ปรากฏอยู่อย่างมากมายหลายชนิดในหลายพื้นที่ ส่งผลต่อความหลากหลายของแมลงที่อาศัยอยู่เช่นเดียวกันอันเนื่องมาจากพืชอาหารที่ปรากฏอยู่ในแต่ละสภาพทางนิเวศที่แตกต่างกัน แมลงบางชนิดพบอยู่เฉพาะบริเวณที่เป็นภูเขาสูงและมีอากาศหนาวเย็นเท่านั้น บางชนิดพบอยู่เฉพาะบริเวณหนองน้ำที่สะอาด เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีแมลงอีกหลายชนิด ทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จักอาศัยอยู่ได้ในสภาพทางนิเวศที่หลากหลาย เช่นพบอยู่ตั้งแต่ป่าชายเลนจนถึงป่าดิบเขาในพื้นที่สูง เป็นต้น  แหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงนั้นไม่ได้มีอยู่เฉพาะบนบกหรือตามต้นไม้ทั่ว ไปเท่านั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ทุกที่ทุกแห่งหนล้วนมีแมลงอาศัยอยู่แทบทั้งสิ้น ตั้งแต่ลึกลงไปใต้ผิวดิน ตามต้นไม้ กิ่งไม้ เศษไม้ท่อนไม้ที่เน่าเปื่อย ในแม่น้ำน้ำ ในทะเลลึก แม้แต่ยอดเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมก็ตาม
 ความหลากหลายของแมลงป่าไม้
หากมีใครสักคนตั้งคำถามว่า "สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้มีกี่ชนิด?" คงไม่มีใครที่สามารถตอบคำถามนี้ได้อย่างแน่นอน สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ถูกค้นพบและมีการจำแนกชนิดและตั้งชื่อกันอยู่เกือบทุกวัน สำหรับแมลงก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีแมลงที่ถูกค้นพบและจำแนกชนิดเป็นหมวดหมู่ที่ถูกต้องแล้วประมาณ 100,000 ชนิด เท่านั้น ยังคงมีแมลงอีกจำนวนมากที่รอการค้นพบและจำแนกชนิด ในการศึกษาทางด้านการจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตหรืออนุกรมวิธาน (Taxonomy) นั้น พบว่าแมลงที่พบในปัจจุบันมีอยู่มากถึง 26 Order มากกว่า 100 Family ซึ่งมีมากกว่าสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆ มากมายหลายเท่านัก
ความหลากหลายของแมลงป่าไม้ในท้องที่ อ. งาว จ. ลำปาง
ในท้องที่อ . งาว จ. ลำปาง ได้มีการศึกษาและเก็บตัวอย่างแมลงป่าไม้มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปีมาแล้ว ตัวอย่างแมลงในกลุ่มต่างๆ มีอยู่อย่างมากมาย แต่เนื่องจากการจำแนกแมลงในแต่ละกลุ่มนั้นจำเป็นต้อใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความชำนาญอย่างมาก ดังนั้นตัวอย่างแมลงในหลายกลุ่มจึงยังไม่ได้มีการจัดจำแนกเป็นหมวดหมู่และตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามมีแมลงบางกลุ่มที่สามารถจำแนกได้ง่ายเนื่องจากมีคู่มือการจำแนกชนิดที่สมบูรณ์ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงได้มีการจำแนกชนิดผีเสื้อกลางวัน และมดที่สำรวจพบในเขตพื้นที่อ. งาว จ. ลำปาง ซึ่งพบว่า มีผีเสื้อกลางวันที่พบในพื้นที่แห่งนี้อย่างน้อย 136 ชนิด และมีมดที่พบอย่างน้อย 108 ชนิด ซึ่งมีการสำรวจพบมดชนิดใหม่ในของโลกพื้นที่แห่งนี้ด้วยเช่นกัน โดยมดชนิดใหม่นี้มีการสำรวจพบครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ. ตาก โดย รศ. เดชา วิวัฒน์วิทยา แห่งคณะวนศาสตร์ มหาวิทาลัยเกษตรศาสตร์ และมีการสำรวจพบมดชนิดใหม่นี้เป็นครั้งที่ 2 ในบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยทาก-ถ้ำผาไท มดชนิดนี้อยู่ในระหว่างการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ สำหรับแมลงกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้นั้นคาดว่าจะมีจำนวนชนิดอีกไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ที่พบในพื้นที่แห่งนี้
 ปัญหาของความหลากหลายของแมลงป่าไม้ในประเทศไทย
จากการขยายตัวของประชากรในประเทศ ทำให้ความต้องการในพื้นที่เพื่อการเกษตรทำกินของประชาชนมีมากขึ้น แต่ทรัพยากรพื้นที่ในการทำการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ทำให้พื้นที่อาศัยตลอดจนพืชอาหารของแมลงได้รับความกระทบกระเทือน ส่งผลต่อแมลงบางชนิดโดยอาจจะทำให้สูญพันธุ์ไปได้ นอกจากนี้ปัญหาไฟป่าที่รุนแรงก็ส่งผลต่อพืชอาหารเช่นกัน ซึ่งผลกระทบที่จะตามมาได้แก่การขาดความสมดุลของระบบนิเวศ ทำให้เกิดมีประชากรของสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่มากเกินไปจากการที่ประชากรของสิ่งมีชีวิตบางชนิดลดปริมาณลงไป สำหรับการใช้สารพิษของมนุษย์เพื่อกำจัดแมลงศัตรูทางการเกษตรก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้แมลงอีกหลายชนิดต้องหมดไปจากพื้นที่โดยที่มนุษย์ผู้ใช้นั้นไม่ทราบ ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความหลากหลายของแมลงในปัจจุบันก็คือ
การค้าขายแมลงที่ปรากฎอยู่ตามตลาดการค้าที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินิยนมเดินทางไปเที่ยวหลายแห่ง เช่นตลาดไนท์บาซาร์ และตลาดขายของที่ระลึกทั่วไป ซึ่งรูปแบบของแมลงที่มีการซื้อขายนั้นเป็นแมลงที่ไม่มีชีวิตโดยการสตาฟแห้งใส่ในกรอบรูป, การอัดอยู่ในเรซิ่น, การทำเป็นเครื่องประดับเช่นเข็มกลัด, การทำเป็นพวงกุญแจ และการเก็บในซองกระดาษสามเหลี่ยมสำหรับนักสะสมแมลงนำไปเก็บสะสม โดยมีการลักลอบจับแมลงหลายชนิดที่มีลักษณะแปลก สวยงาม ที่เป็นที่ต้องการของนักสะสมของแปลก มาจำหน่ายอย่างเปิดเผย โดยการจับแมลงดังกล่าวมักจะมีการว่าจ้างชาวบ้านที่อยู่บริเวณรอบพื้นที่ป่าเป็นผู้จับโดยมีราคาของแมลงแต่ละชนิดที่ต้องการในราคาสูงที่ชักจูงให้ชาวบ้านจับมาขายแก่พ่อค้า การลักลอบค้าแมลงนี้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในปัจจุบัน การลักลอบค้าแมลงในลักษณะนี้ส่งผลให้แมลงที่แปลกหลายชนิดมีปริมาณลดลงไปมาก บางชนิดแทบจะไม่มีการพบเห็นเลยหรือหาได้ยากมากในธรรมชาติในปัจจุบัน ตัวอย่างแมลงบางชนิดที่เคยมีรายงานการพบในอดีตแต่ปัจจุบันเป็นที่แน่ชัดว่าหมดไปจากประเทศไทยแล้ว ได้แก่ ผีเสื้อภูฐานหรือผีเสื้อสมิงเชียงดาว (Bhutanitis lidderdalei ocellatomaculata) ที่เคยพบบริเวณยอดดอยเชียงดาวเท่านั้น แต่เนื่องจากพื้นที่อาศัย พืชอาหารถูกทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอยและการจับแมลงชนิดนี้ไปขายเป็นจำนวนมาก ทำให้แมลงชนิดนี้หมดไปจากประเทศไทยไปโดยสิ้นเชิง คงมีแต่เฉพาะตัวอย่างที่อยู่ตามพิพิธภัณฑ์แมลงบางแห่งเท่านั้นให้เราได้เห็น นอกจากนี้แมลงอีกหลายชนิดก็กำลังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกันว่าอาจจะสูญพันธุ์หรือหมดจากประเทศไทยไปได้ในระยะเวลาอันใกล้หากไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาเพื่อควบคุมดูแลทรัพยากรแมลงอันมีค่าของประเทศเหล่านี้
 
แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายของแมลงในประเทศไทย
ในอดีตนั้น แมลงไม่ได้จัดเป็นสัตว์ป่าตามนัยแห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จึงไม่มีกฎหมายใดที่ช่วยในการคุ้มครองดูแลทรัพยากรแมลงของประเทศในอดีต ทำให้ทรัพยากรเหล่านี้ถูกรบกวนและนำมาใช้ประโยชน์อย่างขาดการควบคุมจนส่งผลให้แมลงบางชนิดหมดไปจากประเทศไทย ในขณะที่บางชนิดอยู่ในสถานภาพที่น่าเป็นห่วงว่าจะหมดไปในระยะเวลาอันใกล้ ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ใหม่ ประกอบกับกระแสของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพมีมากขึ้น จึงได้กำหนดให้แมลงเป็นสัตว์ป่าตามนัยแห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว อีกทั้งมีการประกาศรายชื่อแมลงบางชนิดให้เป็นสัต์ป่าคุ้มครอง ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 20 ชนิด (ผีเสื้อกลางวัน 16 ชนิด ผีเสื้อกลางคืน 4 ชนิด ด้วง 4 ชนิด)  โดยแมลงเหล่านี้ผู้ใดจะมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมิได้ สำหรับกระแสความเป็นห่วงทรัพยากรแมลงนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แต่ภายในประเทศเท่านั้น ในระดับนานาชาตินั้นได้มีการตั้ง อนุสัญญา CITES ขึ้น เพื่อกำหนดควบคุมการค้าขายซึ่งชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่หายากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายไม่ให้มีการนำแมลงจากธรรมชาติมาเพื่อการซื้อขาย ซึ่งมีแมลงที่อยู่ในบัญชีของอนุสัญญาดังกล่าว 48 ชนิด จำแนกเป็นแมลงที่อยู่ในบัญชี CITES APPENDIX I  4 ชนิด (ไม่มีแมลงของประเทศไทย) และบัญชี CITES APPENDIX II 44 ชนิด (มีแมลงที่พบในประเทศไทยประมาณ 6 ชนิด)โดยมีแมลงที่พบในประเทศไทยที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของ CITES APPENDIX II ได้แก่ผีเสื้อภูฐาน (Bhutanitis lidderdalei ocellatomaculata) ผีเสื้ออิมพีเรียลหรือผีเสื้อไกเซอร์ (Teinopalpus spp.) และผีเสื้อถุงทองทุกชนิด (Troides spp.) ซึ่งการจะนำแมลงเหล่านี้ส่งออกหรือนำเข้าในประเทศใดก็ตามต้องมีการรับรองยืนยันจากหน่วยงาน CITES ของประเทศนั้นก่อน จึงจะนำผ่านแมลงเหล่านั้นได้ต่อไป นอกจากมาตรการควบคุมทางด้านกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้แล้ว การช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรถิ่นที่อยู่อาศัยของแมลงให้คงอยู่ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายของแมลงในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง การไม่สนับสนุนการซื้อขายแมลงแปลกๆ หรือแมลงสวยงามนั้นเป็นสิ่งที่ควรตระหนักถึงให้มากเพราะหากไม่มีผู้ต้องการซื้อแล้ว ก็จะไม่มีการนำมาขายอย่างแน่นอน นอกจากนี้การส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงแมลงบางชนิดเพื่อการค้าและให้มีการจดทะเบียนฟาร์มเพาะเลี้ยงแมลงจัดว่าเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรแมลงในสภาพธรรมชาติให้คงอยู่ได้อย่างปลอดภัย

ที่มาhttp://www.dnp.go.th/FOREMIC/NForemic/research/Paper/ins_biodiversity.htm

ความหลากหลายของสัตว์

 ความหลากหลายของสัตว์

             ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์แถบร้อนชื้น (Tropical Zone ) จึงมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ปริมาณน้ำฝนที่ตกมากในแต่ละปี ทำให้มีความชุ่มชื้นตลอดเวลา มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์มีสภาพป่าหลายชนิด จึงก่อให้เกิดความหลากหลายของสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า แอ่งน้ำ แนวปะการัง เป็นต้นจากความหลากหลายของสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยนี่เอง ประเทศไทยจึงมีความหลากหลายของสัตว์ป่ามากตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันมีการสำรวจพบสัตว์ป่าในประเทศไทยมากมายหลายชนิด โดยจำนวนชนิดของสัตว์ป่าทีสำรวจพบในประเทศไทยจะมีจำนวนเท่า ๆ กับจำนวนชนิดของสัตว์ป่าที่สำรวจพบในทวีปยุโรปทั้งทวีป ซึ่งสามารถจำแนกสัตว์ป่าออกเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กลุ่มนก กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน และกลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งแต่ละกลุ่มของสัตว์ป่าจะมีความหลายทางชนิดเดียวกันกับพืชซึงสามารถจำแนกประเภของสัตว์ออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้


 





                                                        สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  
 สัตว์มีกระดูกสันหลัง     

สิ่งมีชีวิตที่จะจัดให้เป็นพวกสัตว์ได้ คือ
          1. จะต้องเป็นพวกยูคาริโอทและมีจำนวนหลายเซลล์ (multi-cellular organisms)
          2. เป็นพวกที่ไม่มีผนังเซลล์
          3. เป็นพวกที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จะต้องกินสิ่งอื่นเป็นอาหาร
          4. ส่วนใหญ่สามารถเคลื่อนที่ได้ อาจจะในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตหรือ
ตลอดชีวิต

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/19/biodiversity/web/00_5.html

ความหลากหลายทางชีวภาพของปริมาณสัตว์น้ำ บริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความหลากหลายทางชีวภาพของปริมาณสัตว์น้ำ บริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
        บริเวณที่ทำการสำรวจข้อมูลเริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทะเลบริเวณเขตอำเภอขนอมที่เชื่อมต่อกับ อำเภอสิชล ครอบคลุมตลอดแนวชายฝั่งจนถึงรอยต่อกับอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระบบนิเวศในบริเวณนี้มีความหลากหลายและมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหาดทราย หาดโคลนปนทราย และป่าชายเลน และตลอดแนวชายฝั่งมีกิจกรรมการใช้ประโยชน์พื้นที่หลายรูปแบบเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น รีสอร์ท แหล่งท่องเที่ยว หรือชุมชนประมง การสำรวจสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งอ่าวขนอม เป็นการศึกษาเพื่อสำรวจความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งในบริเวณนี้
        ออกสำรวจรวบรวมตัวอย่างสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งอำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช ในเดือนกรกฎาคม จำนวน 4 สถานี ได้แก่ อ่าวเตล็ด อ่าวแขวงเภา หาดหน้าด่าน และหาดในเพลา โดยใช้เครื่องมืออวนทับตลิ่ง พร้อมทั้งเก็บข้อมูลปัจจัยสภาวะสิ่งแวดล้อมที่สำคัญบางประการ ได้แก่ ความลึก อุณหภูมิน้ำ ความเค็ม ความโปร่งแสง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และค่าความเป็นกรด-ด่าง พบว่าสถานีอ่าวเตล็ด มีสัตว์น้ำหลากหลายที่สุด คือพบสัตว์น้ำจำนวน 75 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมาก (เปอร์เซ็นต์โดยจำนวนตัว) ได้แก่ ปลาแป้น ( Leiognathus spendens ) 49.4% ปลาแป้น ( Secutor insidiator )12.0% ปลาแป้น ( L. brevirostris )11.4% กุ้งขาว ( Metapenaeus lysianassa ) 5.0% ปลาบู่จุดเขียว ( Acentrogobius caninus ) 3.8% เป็นต้น สถานีอ่าวแขวงเภา มีสัตว์น้ำหลากหลายรองลงมา คือพบสัตว์น้ำจำนวน 53 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมากได้แก่ ปลาเห็ดโคน( Sillago sihama ) 67.8% ปลาแป้น ( S. insidiator ) 12.3% ปลาแป้น( L. brevirostris) 5.0% ปลาหมูสี ( Lethrinus lentjan ) 2.2% ปลากะตักควาย ( Stolephorus indicus ) 2.0% เป็นต้น สถานีหาดคอเขา พบสัตว์น้ำจำนวน 33 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมากได้แก่ ปลาเห็ดโคน ( Sillago sihama ) 67.3% ปลาดอกหมากกระโดงยาว ( Gerres filamentosus ) 11.3% ปลาแป้น ( Secutor insidiator ) 4.9% ปลาแป้น (Leiognathus brevirostris ) 3.4% ปลากดขี้ลิง ( Arius sagor ) 1.9% กุ้งแชบ๊วย 1.2% เป็นต้น สถานีหาดในเพลา พบสัตว์น้ำจำนวน 32 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมาก ได้แก่ ปลาดอกหมาก ( G. oyena ) 31.2% ปลาดอกหมากกระโดงยาว( G. filamentosus ) 30.0% ปลาเห็ดโคน( Sillag sihama ) 21.8% ปลาแป้น ( Secutor insidiator ) 9.8% เป็นต้น


http://eic.wu.ac.th/Biodiversity/biodiv_aquatic.html

ความหลากหลายของเห็ด รา ไลเคนและการใช้ประโยชน์

ความหลากหลายของเห็ด  รา ไลเคนและการใช้ประโยชน์
     
     ราเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบมากเป็นอันดับสองรองมาจากแมลง  ประมาณการว่าจำนวนรามี 1.5 ล้านชนิด(species)  แต่ราที่ศึกษามีจำนวน  80,000-120,000 สายพันธุ์ (Webster &Weber 2007)   ดังนั้นจึงมีราอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่มีการค้นพบ ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น   ดังนั้นจึงพบว่ารามีความหลากหลายมากและกิจกรรมในการย่อยสลายวัสดุต่างๆก็เกิดขึ้นมากทำให้นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศทำการค้นคว้าเพื่อการค้นพบราสายพันธุ์ใหม่จากวัสดุต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ อุตสาหกรรมและการแพทย์    
     ราพบได้ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำเค็ม ในอากาศ บนพืช มูลสัตว์ ดิน รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ของใช้ และวัสดุต่างๆ ได้ศึกษาวิจัยราจากดินและเศษซากพืช พบราที่น่าสนใจหลายชนิด บางชนิดเป็นราสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยรายงานพบมาก่อน ราบางชนิดสร้างเอนไซม์ และสารทุติยภูมิ (secondary metabolites) ที่สามารถจะพัฒนาไปใช้เป็นยาป้องกันกำจัดรา แบคทีเรีย ยีสต์สาเหตุโรคพืช โรคคนและสัตว์ พบรา Neurospora, Gelasinospora หลายชนิดจากดินในแหล่งต่างๆ ทั้งดินป่าและดินทำการเกษตร วิธีการแยกราดังกล่าวใช้ความร้อนและอัลกอฮอล์  ดินเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย  และพบรา Gelasinospora ซึ่งเป็นราเอนโดไฟท์จากใบเพกา (Oroxylum indicum) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
 Neurospora lineolata  

Gelasinospora sp.1  

 Gelasinospora hapsidophora   

     รา Neurospora ใช้ในการศึกษา Mycogenetic   รา Gelasinospora kobi สร้างสารทุติยภูมิหลายชนิดได้แก่ kobiin และ kobifuranones A, B และ C ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์เป็นยากดภูมิคุ้มกัน(immunosuppressive components) นอกจากนี้ยังพบรา Diplogelasinospora sp. ซึ่งทั่วโลกมีรายงาน 3 ชนิด (species) ได้แก่ Diplogelasinospora grovesii , D. princeps และ D.inaequalis   ได้มีรายงานว่ารา  D. grovesii สร้างสาร  macrophin และ colletodiol  ที่เป็นประโยชน์ในการกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immunosuppressive  components) ซึ่งมีประโยชน์ทางการแพทย์ในการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เช่น หัวใจ ไต เช่นเดียวกับการใช้ยา cyclosporin ซึ่งผลิตจากราดิน Tolypocladium 
     ราจากเศษซากพืชที่ร่วงหล่นที่น่าสนใจได้แก่ Ellisiopsis gallesiae, Helicomyces sp., Tetraploa aristata, Torula herbarum, Wiesneriomyces javanicus และ Zalerion varium   รา Tetraploa  aristata  ซึ่งรายงานพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย แยกได้จากกาบไผ่ จ. สระบุรี  Saparrat et al.  (2002) แยกราT. aristatจากอินทรียวัตถุที่ปนเปื้อนด้วยคราบน้ำมันในแม่น้ำ Santiago เมืองบรูโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินาและพบว่าราสร้างเอนไซม์แลคเคส (extracellular laccase) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการย่อยสลายสารระเหยที่ปนเปื้อนในอากาศ (aromatic pollutants) ที่มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม (bioremediation)  นอกจากนี้พบว่ารา Hyphomycetes  หลายชนิดสร้างเอนไซม์ดังกล่าวในปริมาณสูงกว่าที่พบในราจำพวกเห็ด (ligninolytic Basidiomycetes) เช่น Thelephora terrestris และ Pycnoporus sanguineus

       Helicomyces sp

 Wiesneriomyces javanicus

Tetraploa aristata


        ราที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร
        ประโยชน์ของราทางโรคพืช  ราดินและราเอนโดไฟท์บางชนิดสามารถยับยั้งการเจริญการเจริญของรา Rhizoctonia spp. สาเหตุโรคใบไหม้ของข้าว  ข้าวโพดและทุเรียน  ราดินที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเจริญของรา Rhizoctonia spp ได้แก่  Humicola sp, Chaetomium globosum, C.  cupreum และ Trichoderma sp. ส่วนรา  Sordaria fimicola  และ  Talaromyces flavus ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของรา Rhizoctonia  แต่สามารถยับยั้งการเจริญของรา Alternaria alternata, Colletotrichum capsici, C. gloeosporioides, Curvularia lunata, Fusarium oxysporum, Helminthosporium maydis, H. oryzae, Peronophythora litchi, Pestalotiopsis guepinii, Phyllosticta sp., Phytophthora palmivora and  P. parasitica. และพบว่าราเอนโดไฟท์ซึ่งเจริญช้าและไม่สร้างสปอร์ที่แยกได้จากใบอุตพิต (Typhomium  trilobatum, วงศ์ Araceae)  จากจังหวัดสุพรรณบุรี สามารถยับยั้งการเจริญของรา  Rhizoctonia  spp.,  Pythium  utimum และ Phytophthora  cinnamomi

 Chaetomium cupreum  vs Rhizoctonia (KUFC 5624)

 Humicola sp. vs Rhizoctonia (KUFC 5624)

ราเอนโดไฟท์ (กลาง) E0-1  vs  Rhizoctonia (KUFC 5624)

ราเอนโดไฟท์ (กลาง) E0-1vs  Rhizoctonia (KUFC 5625) 
       ประโยชน์ของราที่เจริญในทะเล
      โลกประกอบด้วยน้ำทะเลประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด  ดังนั้นจึงได้มีนักวิจัยให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลกันมาก โดยเฉพาะราที่เจริญในน้ำทะเล (marine fungi) บนวัสดุต่าง ๆ เช่น ทราย สาหร่าย กิ่งไม้ เศษซากพืช ปะการัง และฟองน้ำที่อยู่ในทะเล ราดังกล่าวมีความสำคัญในการย่อยสลาย เศษซากพืช ปลา และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศทางทะเลทำให้เกิดความสมดุลย์ รวมทั้งยังสามารถสร้างเอนไซม์และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่สำคัญจำนวนมากซึ่งมีการพัฒนาไปเป็นยารักษาโรค เครื่องสำอาง เอนไซม์และเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ  ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ ได้มีการค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่จากราที่เจริญในน้ำทะเลหลายชนิด Bhadury et al. (2006) รวบรวมรายงานการค้นพบสารชนิดต่างๆ จากราที่เจริญในน้ำทะเล จำนวน  272 ชนิด จากนั้นได้มีการค้นพบสารชนิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  และมีรายงานว่าสารที่สกัดจากราดังกล่าว มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย  ไวรัส  โปรโตซัว  และราที่เป็นสาเหตุโรคของมนุษย์ (Bhadury et al., 2006; Mehta  et al., 2004) และพบว่าสารบางชนิดมีคุณสมบัติเป็นสารต้านมะเร็ง (Schwartsmann et al., 2003; Holler et al., 2000) ยับยั้งการเจริญของเชื้อมาลาเรีย (Chinworrungsee et al., 2001) ยับยั้งการอักเสบ (Mayer and Hamann, 2004) รวมทั้งมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ(Abdel-Lateff et al., 2003) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาทางเภสัชกรรมและทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง

Verruculina enalia 

 Aigialus parvus

  Dactylospora haliotrepha

         ประโยชน์ของราเอนโดไฟท์
         ราเอนโดไฟท์เป็นราที่เจริญอยู่ภายในกิ่ง  ใบ  และส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยไม่ทำให้พืชเกิดโรค  การศึกษาวิจัยเรื่องราเอนโดไฟท์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืชทางชีววิธีจึงมีผู้ให้ความสนใจศึกษากันมาก  พืชที่นำมาศึกษาควรเป็นพืชที่เจริญในพื้นที่ ที่ปลอดจากมลภาวะ และสารพิษ ได้มีรายงานพบสาร Taxol ซึ่งยับยั้งการเจริญของเชลล์มะเร็ง (anticancer) จากรา Pestalotiopsis   microspora (Strobel, 1996) ซึ่งเป็นที่สนใจของวงการแพทย์  จากนั้นจึงได้มีการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง   Worapong et al. (2001) พบว่าราเอนโดไฟท์  Muscodor albus  จากอบเชย cinnamomum zeylanicum สร้างสารระเหย  antimicrobial volatile organic chemical ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดได้แก่  Sclerotinia sclerotiorum,  Rhizoctonia solani และ แบคทีเรีย Bacillus substilis    Lacey และNeven, 2006  นำสารระเหยที่ได้จากรา M. albus  ไปใช้เป็นยาฆ่าแมลงในการกำจัดตัวอ่อนและตัวเต็มวัยผีเสื้อในหัวมันฝรั่ง (potato moth, Phthorimaea  operculella) ในโรงเก็บมันฝรั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ   นอกจากนี้พบว่ามีการนำราเอนโดไฟท์ M. albus มาเลี้ยงบนเมล็ดข้าวไรน์ เพื่อให้ราสร้างสารระเหยในการควบคุม Meloidogyne  chitwoodi และ M. hapha ใส้เดือนฝอยสาเหตุโรคพืชในห้องปฏิบัติการ และในโรงเรือนปลูกพืชทดลองที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (Riga et al., 2008)  จากงานวิจัยพบราเอนโดไฟท์ที่ไม่สร้างสปอร์สร้างเฉพาะเส้นใย (sterile mycelium) ที่แยกจากใบอุตพิษ (Typhonium  trilobatum) จาก อำเภอบางระจัน  จังหวัดสิงห์บุรี   ยับยั้งการเจริญของรา สาเหตุโรคพืชหลายชนิดได้แก่ Pythium  ultimum, Phytopthora  palmivora, P. cinnamomi, Sclerotinia  sclerotiorum, Colletotrichum  lagenarium, Rhizoctonia  solani และแบคทีเรีย Escherichia  coli
      ราเอนโดไฟท์ที่สร้าง synnemata แยกได้จากกิ่งของกาฝากก่อดำ (Dufrenoya  sessilis) จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ยับยั้งการเจริญของราโรคพืชหลายชนิดได้แก่ Phytophthora  palmivora, P. paracitica, Fusarium  oxysporum, Sclerotium  rolfsii และรา  Colletotrichum  capsici

 SEM photomicograph of synnemata showing conidia and conidiophores

synnemata endophytic fungus บน PDA 20 วัน

  synemata endophytic fungus (centre) vs Phytophthora palmivora


      ความหลากหลายของรามูลสัตว์  จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

  Coprotus sp.1  (yellow)and Pilobolus (arrow)

Coprotus sp.2

 Cercophora sp

   Pilobolus  sp.

     รามูลสัตว์เป็นราที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ เป็นราที่ทนทานต่อน้ำย่อยในกระเพาะและสำไส้ของสัตว์ เมื่อสัตว์กินอาหารได้แก่ใบไม้ หรือวัสดุต่างๆที่มีราปนเปื้อน ราจะผ่านระบบทางเดินอาหาร มาอยู่ในมูลสัตว์ ได้เก็บตัวอย่างได้แก่ มูลเก้ง ช้าง และหมูป่า  จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ. ภูหลวง จ. เลย ในเดือนพฤศจิกายน 2551  อุณหภูมิ  9-12 oC  สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง  มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร ถึงยอดสูงสุดของภูหลวง 1,571 เมตร   พบรา Discomycetes บนมูลเก้งจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ รา Ascobolus , Saccobolus, Coprotus sp.1 และ Coprotus sp.2   พบรา Pyrenomycetes บนมูลช้างและเก้ง ได้แก่รา Cercophora, Chaetomium, Gelasinospora, Podospora, Sordaria และ Sporormiella  ส่วนรา Zygomycetes พบรา Pilobolus บนมูลเก้ง
       เห็ดราที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์  เห็ดราที่มีสรรพคุณทางยาและอาหารเสริม และเห็ดราที่ใช้ทำสีย้อม

 Filoboletus sp.

 Ramaria sp.

Geastrum sp.

      เห็ดเป็นราชั้นสูงใน Class Basidiomycetes   เห็ดเจริญได้ในที่ชื้น บนใบไม้ผุ พบมากในป่า คณะผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างเห็ดจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง พบเห็ดที่น่าสนใจหลายชนิดดังภาพ  
      อนงค์และคณะ (2551) ได้ศึกษารวบรวมความหลากหลายของเห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง ได้บรรยายลักษณะสำคัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อภาษาไทยของของเห็ดแต่ละชนิด พร้อมทั้งแหล่งที่พบและข้อมูลการนำมาบริโภคเห็ดหลายชนิดที่เจริญบนขอนไม้สามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมไหมพรม ตัวอย่างเช่น Phaeolus schweinitzii  Trametes versicolor  และT. maxima  (Aphyllophorales) (Cedano et al., 2007)


   Trametes versicolor 

ไหมพรมที่ย้อมสีจากเห็ด



Trametes maxima

         ประโยชน์ของไลเคน
         ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันระหว่าง สาหร่าย (algae) และรา (fungi) แบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis)  เจริญอยู่บนหิน (crustose lichen) บนกิ่งไม้ (foliose lichen, fruticose lichen) และบนดิน (squamulose lichen)  ไลเคนมีประโยชน์ทางด้านโภชนาการ  อียิปต์โบราณนำเข้าไลเคน Evernia prunastri และ E. furfuracea เพื่อผสมแป้งทำขนมปัง เพื่อทำให้รสชาติดีขึ้น อินเดียใช้ Parmelia perlata ซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ราทาพู (rathapu) ผสมแกงกะหรี   ญี่ปุ่นใช้ไลเคน Endocarpon (Dermatocarpon) miniatum ซึ่งมีชื่อพื้นเมืองว่า อิวาทาเกะ (iwataka) ในการทำอาหารและส่งออกไปยังประเทศจีน (กัณฑรีย์, 2549;  Smith, 1975)      สรรพคุณในด้านสมุนไพรและยาชาวอียิปต์โบราณใช้ไลเคนเป็นส่วนประกอบของยาและสมุนไพร ได้มีการค้นพบโถที่บรรจุเมล็ดและส่วนของพืชต่าง ๆ รวมทั้งไลเคน Evernia furfuracea ที่มีอายุประมาณ 1700–1800  ปีก่อนคริสตกาล  (กัณฑรีย์, 2549)


           squamulose lichen  Cladonia  homchantarae


       fruticose lichen  Ramalina  sp.


     foliose lichen   Hypotrachyna adducta 



       crustose lichen   Pyrrhospora sp.

             ไลเคนมีความหลากหลายและมนุษย์ได้นำมาสกัดสีต่างๆ ไลเคนที่รู้จักกันดีคือ Rocella tinctoria และ Rocella spp. ให้สีออชิลล์ (orchil) เป็นโทนสีม่วง ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ เป็นประเทศที่สกัดสีจากไลเคนและนำไปผลิตเป็นการค้า สีจากไลเคนใช้ย้อมเส้นใยจากสัตว์ เช่นขนสัตว์และไหมได้ดี แต่ย้อมเส้นใยจากพืช เช่น ฝ้าย ไม่ได้  (กัณฑรีย์, 2549) นอกจากนี้ยังมีไลเคนอีกหลายชนิดที่ให้สีย้อมต่าง ๆ เช่น  Lecanora tartarea, Parmelia saxatilis ให้สีแดง Parmelia omphalodes, Parmelia saxatilis ให้สีน้ำตาล  Haematomma ventosum, H. occineum ให้สีน้ำตาลแดง  Xanthoria parietina, Cetraria funlperium, Pertusaria melaleuca และ Usnea barbata ให้สีเหลือง Candellariella vutellina และ Xanthoria lychnea  ให้สีเหลืองซึ่งใช้ย้อมเทียนในพิธีทางศาสนา ในสวีเดน  นอกจากนี้ไลเคนยังสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศ  โดยใน ค.ศ. 1866 Nylander รายงานว่าไม่พบไลเคนเติบโตในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเนื่องจากกควันที่ปล่อยออกมาจากปล่องตามบ้านเรือนและอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า มลพิษมีผลต่อการดำรงชีวิต และการเจริญของไลเคน (Boonpragob et al., 1989) ดังนั้นไลเคนจึงใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศอย่างแพร่หลายในยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ (Greis, 1996; Huckby, 1993; Nash, 1974; Pilegaard, 1978; Boonpragob and Nash, 1990) รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งมักพบไลเคนเจริญบนลำต้นและกิ่งไม้ บนหิน ตามดินที่ชื้นในป่าและสวนผลไม้ (Boonpragob, 2004)

             

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ป่าไม้ในประเทศไทย

ความหลากหลายของบัวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง


ความหลากหลายของบัวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้ทำการรวบรวมพันธุ์บัวในพื้นที่อีสานใต้ เพื่อศึกษาความหลากหลายของพันธุ์บัว ได้จำแนกบัวไว้เป็นหมวดหมู่ตามหลักการจัดจำแนกด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา ได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มบัวปทุมชาติ (วงศ์ Nelumbonaceae) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้
- ลำต้น
ทอดเลื้อยตามผิวดิน เห็นข้อปล้องชัดเจน
- ใบ
ชูขึ้นเหนือน้ำ
- ก้านใบและดอก
มีหนามแข็งปกคลุม
- ดอก
บานตอนกลางวัน ชูขึ้นเหนือน้ำ
- ฝัก
อยู่เหนือน้ำ
- เมล็ด
ขนาดใหญ่และแข็ง
กลุ่มบัวปทุมชาติ ได้มีการจัดกลุ่มย่อยตามลักษณะการซ้อนของกลีบดอกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่มีการซ้อนของกลีบดอกน้อยชั้น ได้แก่ บุณฑริก และปทุม (Nelumbo nucifera Gaertn.)
2. กลุ่มที่มีการซ้อนของกลีบดอกมาก ซึ่งจำนวนกลีบดอกที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการกลายรูปร่างของเกสรเพศผู้ให้มีลักษณะเหมือนกลีบดอก ได้แก่ สัตตบงกช และสัตตบุษย์ (Nelumbo nucifera Gaertn.)



2. กลุ่มบัวอุบลชาติ (วงศ์ Nymphaeaceae) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ดังนี้
- ลำต้น
อยู่ใต้ดิน มีข้อปล้องไม่ชัดเจน
- ใบ
ลอยอยู่เหนือน้ำ
- ก้านใบและดอก
อวบน้ำ ผิวเรียบ
- ดอก
ลอยอยู่เหนือน้ำ
- ฝัก
จมอยู่ใต้น้ำ
- เมล็ด
ขนาดเล็ก
กลุ่มบัวอุบลชาติ ได้มีการจัดกลุ่มย่อยตามลักษณะการบานของดอกได้เป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่ดอกบานตอนกลางวัน ได้แก่ บัวผันเผื่อน (Nymphaea nouchali Burm.f.)
2. กลุ่มที่ดอกบานตอนกลางคืน ได้แก่ บัวสาย และ เศวตอุบล (Nymphaea pubescense Willd.)



ที่มา http://sisakethort.blogspot.com/2010/07/blog-post.html

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สารคดี มหัสจรรย์โลกใต้ทะเลลึก

การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต

ความหลากชนิดของปลาในพื้นที่พรุของประเทศไทย


ความหลากชนิดของปลาในพื้นที่พรุของประเทศไทย

 พรรณปลาน้ำจืดของประเทศไทยนั้น พบแล้วประมาณ 720 ชนิด จาก 56 วงศ์ หลังจากที่รายงานไว้ 573 ชนิด ปลาที่พบในพื้นที่พรุของประเทศไทยนี้มีความหลากหลายมากที่สุดคือ ในบริเวณพรุโต๊ะแดง พบอย่างน้อย 95 ชนิด ที่พรุคันธุลีพบอย่างน้อย 32 ชนิด และพรุซับจำปาพบเพียง 7 ชนิด

 ชนิดที่พบเฉพาะพื้นที่พรุ (stenotopic) 33 ชนิด

 ชนิดอื่นๆ ที่ปรับตัวได้ในพื้นที่พรุ (peat adaptive) 67 ชนิด

 ชนิดที่อยู่ในสภาวะถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ 9 ชนิด ได้แก่ ปลาตะพัด Scleropages formosus ซึ่งเคยมีรายงานพบที่พรุโต๊ะพราน จังหวัดปัตตานี ปลาซิวหนู Bararas urophthalmiodes ปลาชะโอน Ompok hypophthalmus ปลาหนวดแมว O. eugeniatus ปลาขยุยพรุ Parakysis verrucosus ปลากะแมะ Chaca bankanensis ปลาลำพั น Clarias nieuhoffi ปลากัดน้ำแดง Betta pi และปลากระดี่มุก Trichogaster leeri
พรรณปลาที่พบในพื้นที่พรุนี้เป็นชนิดที่พบเฉพาะพรุ 33 ชนิด เช่น ปลากะแมะ Chaca bankanensis ปลาช่อนเข็ม Luciocephalus pulcher ปลาซิวเพชรน้อย Boraras maculatus เป็นต้น นอกจากนี้เป็นชนิดที่อาศัยในแหล่งน้ำทั่วไปแต่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่พรุและแหล่งน้ำ รอบข้างได้ดีพบ 67 ชนิด เช่น ปลาสลาด Notopterus notopterus ปลา ไส้ตันตาแดง Cyclocheilichthys apogon ปลากะทุงเหว Xenentodon cancilla ปลาสลิด Trichogaster pectoralis เป็นต้น
ปลาพรุที่สามารถปรับตัวได้ในพื้นที่ที่เปลี่ยนสภาพมี 3 ชนิดคือ ปลาลำพัน Clarias nieuhofi ปลาซิวแถบเหลือง Rasbora pauciperforata และปลาหมอช้างเหยียบพรุ Pristolepis grootei ทั้งหมดนี้พบรวม 29 วงศ์ 100 ชนิด เป็นวงศ์ปลาตะเพียน สร้อย ซิว (Cyprinidae) มากที่สุดคือ 31 ชนิด กลุ่มปลาดุก กด เนื้ออ่อน (catfishes) พบ 6 วงศ์ 21 ชนิด กลุ่มปลาหมอ กัด กระดี่ รวม 4 วงศ์ 13 ชนิด และวงศ์ปลาช่อน (Channidae) และอื่นๆ รวม 18 วงศ์ 30 ชนิด มี 2 ชนิดที่คาดว่าเคยมี หรือน่าจะพบคือ ปลาแขยงแคระ Hyalobagrus ornatus และปลาดุกแคระ Encheloclarias keliloides ซึ่งพบทั่วไปในพื้นที่พรุของประเทศมาเลเซีย
คำว่า "พรุ" ที่ใช้กันในประเทศใช้เรียกบริเวณที่เป็นลุ่มชุ่มน้ำ หรือมีน้ำแช่ขัง มีซากผุของพืชทับถมมากหรือน้อย เวลาเหยียบมีความหยุ่น สภาพเช่นนี้ในภาคกลางเรียกที่ลุ่มสนุ่น สภาพดินพรุที่มีการทับถมของซากพืชเรียกว่าดินอินทรียวัตถุ (organic soils) หรือดินชุดนราธิวาส(Narathiwat Serics) ซากอินทรียวัตถุที่ทับถมถ้าหากสลายหมดจนไม่เห็นซากพืชเรียกมัค (muck) ถ้าสลายไม่หมดมองเห็นซากพืชเรียกพีท (peat) ดินพรุส่วนใหญ่หนามากกว่า 40 เซนติเมตร บางแห่งอาจถึง 2 เมตร มีสีดำหรือน้ำตาลแก่ ดินเป็นกรดปานกลางในชั้นบนและกรดจัดในชั้นล่าง ลักษณะโครงสร้างของป่าพรุในประเทศไทยที่แท้จริงคงเหลือให้เห็นได้เฉพาะในจังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะที่พรุโต๊ะแดงซึ่งได้อนุรักษ์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า


http://chm-thai.onep.go.th/chm/Inlandwater/webpage/PeatSwampForest.html

ระบบนิเวศ

ความหลากหลายของจุลินทรีย์


จุลินทรีย์โพรแคริโอตและจุลินทรีย์ยูแคริโอต
  
       กลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นเซลล์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยโดยพิจารณาจากโครงสร้างของเซลล์ คือ จุลินทรีย์ที่โครงสร้างเป็นแบบเซลล์โพรแคริโอต (Prokaryotic microorganisms)

 คือ แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ที่โครงสร้างเป็นแบบเซลล์ยูแคริโอต (Eukaryotic microorganisms)
 เช่น เชื้อรา สาหร่าย และโปรโตซัว จุลินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็นแบบเซลล์โพรแคริโอต

สารพันธุกรรม (Genetic materials) จะไม่อยู่ภายในนิวเคลียส (Nucleus) และไม่พบออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม (Membranous organelles; membrane-enclosed organelles; membrane-bound organelles) อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งแตกต่างจากจุลินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็นแบบเซลล์ยูแคริโอตที่พบสารพันธุกรรมอยู่ภายในนิวเคลียส และพบออร์แกเนลที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม

ความหลากหลายของแบคทีเรีย
  
       ปัจจุบันนักจุลชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรียจัดหมวดหมู่แบคทีเรียออกเป็น 13 Phylum คือ
     1. Proteobacteria (Phylum I)
     2. Gram-Positive Bacteria (Phylum II)
     3. Cyanobacteria, Prochlorophytes, and Chloroplasts (Phylum III)
     4. Chlamydias (Phylum IV)
     5. Planctomyces    / Pirella    (Phylum V)
     6. Bacteroides    / Flavobacteria     (Phylum VI)
     7. Green Sulfur Bacteria (Phylum VII)
     8. Tightly Coiled Bacteria: The Spirochetes (Phylum VIII)
     9. Deinococci (Phylum IX)
     10. Green Nonsulfur Bacteria (Phylum X)
     11. Thermotoga     (Phylum XI)
     12. Thermodesulfobacterium    (Phylum XII)
     13. Aquifex     and Relatives (Phylum XIII)

Phylum I Proteobacteria
  
       แบคทีเรียทุกชนิดในไฟลัมนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-Negative Bacteria) (อธิบายเพิ่มเติม) ซึ่งมีความหลากหลายของกระบวนการเมตาบอลิสมในระดับที่สูง ปัจจุบันพบว่า Proteobacteria เป็นกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มใหญ่ หลายชนิดมีความสำคัญทั้งในทางการแพทย์ อุตสาหกรรม และการเกษตร ตัวอย่างของแบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 17 กลุ่ม คือ
  
       1. Purple Phototrophic Bacteria
     2. Nitrifying Bacteria
     3. Sulfur-and Iron-Oxidizing Bacteria
     4. Hydrogen-Oxidizing Bacteria
     5. Methanotrophs and Methylotrophs
     6. Pseudomonas and the Pseudomonads
     7. Acetic Acid Bacteria
     8. Free-Living Aerobic Nitrogen-Fixing Bacteria
     9. Neisseria , Chromobacterium , and Relatives
     10. Enteric Bacteria
     11. Vibrio    and Photobacterium
       12. Rickettsias
     13. Spirilla
     14. Sheathed Proteobacteria
     15. Budding and Prosthecate/Stalked Bacteria
     16. Gliding Myxobacteria
     17. Sulfate-and Sulfur-Reducing Bacteria

1. Purple Phototrophic Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน (Rods) ขนาด 1.5-4 x 4-40 ?m บางชนิดมีรูปร่างเป็นเกลียว (spirals) รูปไข่ (ovoid) หรือคล้ายเมล็ดถั่ว (bean-shaped) บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย polar flagella แบคทีเรียในไฟลัมนี้พบอาศัยในทะเลสาบ และตะกอนที่ทับถมของทะเลสาบโดยเฉพาะในบริเวณที่มี sulfide อยู่ในปริมาณที่สูง
      Purple phototrophic bacteria มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ strictly anaerobic anoxygenic phototrophy แหล่งคาร์บอนที่สำคัญ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) โดยอาศัย Calvin cycle ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 fixation) แหล่งของอิเลกตรอนมักเป็น hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate และ hydrogen นอกจากนี้ที่สำคัญแบคทีเรียในกลุ่มนี้พบ Bacteriochlorophyll
 แบคทีเรียในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มย่อยที่ 1 Purple sulfur bacteria ซึ่งมีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ photolithoautotrophy พบได้ในหลายสกุล เช่น Chromatium , Halorhodospira , Thiocapsa , Thiococcus , Thiopedia    และ Thiospirillum  
 กลุ่มย่อยที่ 2 Purple nonsulfur bacteria ที่พบกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ photoorganoautotrophy ตัวอย่างแบคทีเรียในกลุ่มย่อยนี้ คือ Rhodobacter , Rhodocyclus , Rhodopseudomonas    และ Rhodophila
  
   
2. Nitrifying Bacteria

           เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนขนาด 0.8-1 x 1-2 ?m บางชนิดมีรูปร่างกลม รูปเกลียว มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic lithotrophy
 ซึ่งใช้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ carbonate เป็นแหล่งคาร์บอนโดยอาศัย Calvin cycle ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แบคทีเรียในกลุ่มนี้หลายชนิดได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจน แบคทีเรียในกลุ่มนี้พบได้ทั่วไปในดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งน้ำเค็ม ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Nitrobacter    และ Nitrosomonas
3. Sulfur-and Iron-Oxidizing Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนขนาด 0.8-1 x 1-2 ?m บางชนิดมีรูปร่างกลมรูปเกลียว มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic lithotrophy คล้ายกับ Nitrifying bacteria แบคทีเรียในกลุ่มนี้บางสกุล เช่น Thiobacillus    และ Thiomicrospora ได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารประกอบอนินทรีย์ซัลเฟอร์ และ/หรือ จากกระบวนการรีดักชันสารประกอบอนินทรีย์ซัลเฟอร์และสารประกอบอนินทรีย์ของเหล็ก แหล่งอาศัยทั่วไป คือ ดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งน้ำเค็ม โดยเฉพาะบริเวณน้ำพุร้อนที่มีซัลเฟอร์ในปริมาณที่สูง
4. Hydrogen-Oxidizing Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนขนาด 0.8-1 x 1-2 ?m บางชนิดมีรูปร่างกลม
รูปเกลียว มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic lithotrophy คล้ายกับ Nitrifying bacteria และ Sulfur-and Iron-oxidizing bacteria เพียงแต่แตกต่างกันที่แบคทีเรียในกลุ่มนี้ได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารประกอบอนินทรีย์ไฮโดรเจน ตัวอย่างแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ แบคทีเรียในสกุล Alcaligenes    ซึ่งพบได้ทั่วไปในดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งน้ำเค็ม
5. Methanotrophs and Methylotrophs


      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลกเจลลา เช่น Methylomonas บางสกุลเซลล์มีรูปร่างกลม และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น Methylococcus    นอกจากนี้แบคทีเรียในกลุ่มนี้บางสกุลมีรูปร่างท่อนโค้ง สามารถเคลื่อนที่ได้ (motile vibrios) เช่น Methylosinus    แหล่งอาศัยของแบคทีเรียกลุ่มนี้คือ ดิน และน้ำ
6. Pseudomonas and the Pseudomonads


      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน หรือท่อนโค้ง ขนาด 0.5-1.5 x 1.4-6 ?m สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลกเจลลาชนิด polar flagella มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic and facultative aerobic chemoorganotrophy ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Pseudomonas , Agrobacterium , Rhizobium    และ Zymomonas    เป็นต้น
7.Acetic Acid Bacteria

      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน หรือท่อนโค้ง ขนาด 0.3-2.0 x 0.9-20 ?m สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลกเจลลาชนิด polar flagella เช่น แบคทีเรียสกุล Gluconobacter    และโดยอาศัยแฟลกเจลลาชนิด peritrichous flagella เช่น แบคทีเรียสกุล Acetobacter    กระบวนการเมตาบอลิสมที่พบเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy ผลที่ได้จากกระบวนการเมตาบอลิสมเพื่อการสร้างพลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันเอธิลแอลกอฮอล์ของแบคทีเรียกลุ่มนี้ คือ กรดแอซีติก (acetic acid) ดังนั้นจึงเรียกชื่อแบคทีเรียกลุ่มนี้ว่า acetic acid bacteria
8.Free-Living Aerobic Nitrogen-Fixing Bacteria

  แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปร่างเป็นรูปท่อนขนาดใหญ่ บางชนิดรูปร่างเซลล์คล้ายผลแพร์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ?m กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic or microaerophilic chemoorganotrophy ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ แบคทีเรียในสกุล Azotobacter    และ Azomonas    
9. Neisseria , Chromobacterium , and Relatives

      แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์เป็นรูปท่อน รูปท่อนค่อนข้างกลม (rod-coccoid) ส่วนมากไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (nonmotile) บางชนิดมีความสามารถในการสร้างรงควัตถุ เช่น Chromobacterium violaceum    กระบวนการเมตาบอลิสมที่พบเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้เช่น Acinetobacter    พบได้ในดิน และน้ำ นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถก่อโรคได้ในมนุษย์และสัตว์ เช่น Neisseria    
10. Enteric Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนตรง ขนาด 0.3-1.0 x 1-6 ?m บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย peritrichous flagella บางชนิดขาดความสามารถในการเคลื่อนที่ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative aerobic chemoorganotrophy พบเป็น normal flora และ/หรือ parasites ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก และพืชหลายชนิด ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Escherichia , Salmonella , Proteus    และ Enterobacter    เป็นต้น
11. Vibrio     and Photobacterium

     เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนโค้ง ขนาด 0.3-1.0 x 1-6 ?m บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย peritrichous หรือ polar flagella บางชนิดขาดความสามารถในการเคลื่อนที่ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative aerobic chemoorganotrophy แหล่งอาศัยโดยทั่วไป คือ แหล่งน้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม นอกจากนี้ยังพบว่าบางชนิดก่อให้เกิดโรคในคน และสัตว์หลายชนิด ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Vibrio    และ Photobacterium    
12. Rickettsias

      แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียในสกุล Coxiella , Rickettsia    และ Rochalimae    ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน หรือค่อนข้างกลม บางชนิดมีรูปร่างไม่แน่นอน (pleomorphic shape) ขนาด 0.3-0.7 x 1-2 ?m ไม่เคลื่อนที่ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic organotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogenic bacteria)
13. Spirilla

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนโค้งเป็นเกลียว ขนาด 0.2-1.4 x 1.7-60 ?m บางสกุลเคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา ( Spirillum , Aquaspirillum    ) หรือไม่เคลื่อนที่ ( Spirosomaceae , Microcyclus   ) กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic, microaerophilic or facultative anaerobic chemoorganotrophy ส่วนใหญ่แบคทีเรียกลุ่มนี้จะดำรงชีวิตอย่างอิสระ อย่างไรก็ตามบางสกุลก่อให้เกิดโรคแก่สัตว์ เช่น Campylobacter    เป็นต้น
14. Sheathed Proteobacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มีลักษณะของเซลล์เป็นเส้นสาย (filamentous bacteria) บางสกุลเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย subpolar flagella บางสกุลไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น Crenothrix    แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็น aerobic metal oxidizers พบได้โดยทั่วไปในแหล่งน้ำชนิดต่างๆ
15. Budding and Prosthecate/Stalked Bacteria

      แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ขนาด 0.5-1 x 1-3 ?m เคลื่อนที่ได้โดยใช้แฟลก
เจลลา พบการเพิ่มจำนวนของเซลล์โดยใช้กลไก budding และ/หรือ พบโครงสร้างที่เรียกว่า Prostheca กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy พบได้ง่ายในแหล่งน้ำที่มีสารอาหารค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้คือ Hyphomicrobium    และ Caulobacter   
16. Gliding Myxobacteria

      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ขนาด 0.6-0.9 x 3-8 ?m สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย gliding mechanism ลักษณะเด่นอีกประการของแบคทีเรียในกลุ่มนี้คือ สามารถสร้างโครงสร้างที่เรียกว่า Fruiting bodies ที่มี myxospores เมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy บางชนิดเป็น micropredator หลายชนิดมีความสามารถในการสร้าง bioactive compounds ที่สามารถนำไปใช้ได้ในทางการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม แบคทีเรียกลุ่มนี้พบได้ทั่วไปในดิน บริเวณที่มีการย่อยสลายของซากพืชและซากสัตว์ และมูลสัตว์ ตัวอย่างของแบคทีเรียดังกล่าวคือ Myxococcus , Chondromyces    และ Stigmatella   
17. Sulfate-and Sulfur-Reducing Bacteria

     เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนตรง ท่อนโค้ง ท่อนเกลียว ขนาด 0.5-1.5 x 3-10 ?m กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic dissimilatory organotrophic bacteria ซึ่งมีการใช้ sulfate และ sulfur เป็น electron acceptors แบคทีเรียกลุ่มนี้พบได้ในตะกอนของแหล่งน้ำ และบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมักพบ sulfur เป็นองค์ประกอบ ตัวอย่างของแบคทีเรียดังกล่าว คือ Desulfovibrio , Desulfobacter    และ Desulfuromonas   
Phylum II Gram-Positive Bacteria
  
       แบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ
1. Nonsporulating, Low GC, Gram-Positive Bacteria
2. Endospore-Forming Gram-Positive Rods and Cocci
3. Cell Wall-Less, Low GC, Gram-Positive Bacteria
4. High GC, Gram-Positive Bacteria: Coryneforms and Propionic Acid Bacteria
5. High GC, Gram-Positive Bacteria: Mycobacterium
6. Filamentous, High GC, Gram-Positive Bacteria: The Actinomycetes

1. Nonsporulating, Low GC, Gram-Positive Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปกลม ไม่เคลื่อนที่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-2.5 ?m อาจพบเป็นเซลล์เดี่ยว ( Micrococcus    ) เป็นกลุ่ม ( Staphylococcus    ) เป็นสาย ( Streptococcus    ) แบคทีเรียกลุ่มนี้ไม่สร้างสปอร์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic, facultative anaerobic or microaerophilic chemoorganotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้โดยเฉพาะ Lactic acid bacteria สามารถหมักน้ำตาลและสร้างกรดแลกติก และ/หรือผลิตภัณฑ์จากกระบวนการหมักได้ ขึ้นอยู่กับกระบวนการหมักเป็นแบบ homolactic fermentation ( Streptococcus , Pediococcus , Enterococcus , Lactococcus , Lactobacillus spp.) หรือ heterolactic fermentation ( Leuconostoc , Lactobacillus spp.)
2. Endospore-Forming Gram-Positive Rods and Cocci

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปท่อน สามารถสร้างเอนโดสปอร์ (endospores) ส่วนใหญ่เคลื่อนที่โดยใช้ peritrichous flagella ( สกุล Bacillus , Clostridium    ) หรือเคลื่อนที่โดย Gliding ( สกุล Heliobacterium    ) นอกจากนี้พบว่าบางสกุลมีรูปร่างเป็นแบบ tetrad ( สกุล Pediococcus ) หรือ Sarcina ( สกุล Sporosarcina    ) แบคทีเรียในกลุ่มนี้มีความหลากหลายของกระบวนการเมตาบอลิสมขึ้นอยู่กับสกุลของแบคทีเรีย เช่น facultative anaerobic chemoorganotrophy ( สกุล Bacillus    ), microaerophilic chemoorganotrophy ( สกุล Clostridium , Desulfotomaculum , Sporosarcina    ),obligately anaerobic chemoorganotrophy ( สกุล Acetobacterium , Clostridium , Desulfotomaculum   ), obligately anaerobic phototrophy ( สกุล Heliobacterium   )

3. Cell Wall-Less, Low GC, Gram-Positive Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างไม่แน่นอน ขนาด 0.1-0.25 x 3-150 ?m ไม่มี
ผนังเซลล์ พบ sterols เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนมากไม่เคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่โดยใช้ gliding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative or obligately anaerobic chemoorganotrophy ตัวอย่างของแบคทีเรียกลุ่มนี้ คือ Mycoplasma    และ Spiroplasma   
4. High GC, Gram-Positive Bacteria: Coryneforms and Propionic Acid Bacteria

     เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ท่อนตรง หรือท่อนโค้ง ไม่เคลื่อนที่ บางสกุล เช่น Propionibacterium    มีรูปร่างไม่แน่นอน แบคทีเรียในกลุ่มนี้มีความหลากหลายของกระบวนการเมตาบอลิสมขึ้นอยู่กับสกุลของแบคทีเรีย เช่น aerobic chemoorganotrophy
(สกุล Corynebacterium    ) และ anaerobic chemoorganotrophy ( สกุล Propionibacterium    ) แบคทีเรียกลุ่มนี้บางชนิดเป็นสาเหตุของโรคพืชและสัตว์ แต่ส่วนใหญ่เป็น normal flora
5. High GC, Gram-Positive Bacteria: Mycobacterium

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ท่อนตรง หรือท่อนโค้ง ขนาด 0.2-0.6 x 1-10 ?m
ผนังเซลล์มี mycolic acid เป็นองค์ประกอบ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็น pathogenic bacteria
6. Filamentous, High GC, Gram-Positive Bacteria: The Actinomycetes

      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมบวก เซลล์มีลักษณะเป็นเส้นสายคล้ายเส้นใยของเชื้อรา แบคทีเรียกลุ่มนี้มีความหลากหลายในแง่ของฟีโนไทป์ โดยเฉพาะลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเซลล์ในแง่ต่างๆ แบคทีเรียในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆหลายกลุ่มคือ Nocardioforms, Actinomycetes with multilocular sporangia, Actinoplanetes , Streptomyces     and related genera, Maduromycetes , Thermonospora     and related genera, Thermoactinomycetes  
Phylum III Cyanobacteria, Prochlorophytes, and Chloroplasts   
       แบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
  
  1.Cyanobacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ พบทั้งเซลล์เดี่ยว ( สกุล Anacystis , Synechococcus , Pleurocapsa    ) หรือเป็นเส้นใย ( สกุล Anabena , Nostoc , Oscillatoria    ) เคลื่อนที่แบบ gliding พบ gas vesicles เป็นองค์ประกอบในเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic oxygenic photolithotroph แบคทีเรียในกลุ่มนี้พบ phycobiliproteins และ Chlorophyll a

2.Prochlorophytes and Chloroplasts
     เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปร่างกลม ( สกุล Prochloron    ) หรือเป็นเส้นใย ( สกุล Prochlorothrix    ) กลุ่มนี้จะพบ thylakoid membrane system ซึ่งมี chlorophyll a หรือ chlorophyll b แต่ไม่พบ phycobiliproteins กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic oxygenic photolithotrophy

Phylum IV Chlamydias  

  
        เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-1.5 ?m ไม่เคลื่อนที่ ไม่มี peptidoglycan เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy พบโครงสร้างที่เรียกว่า reticulate bodies และ elementary bodies แบคทีเรียในไฟลัม Chlamydias เป็น obligate intracellular parasite 
Phylum V Planctomyces    / Pirella
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์รูปไข่อยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า stalk ที่มีลักษณะเล็กและบาง บริเวณส่วนนอกเซลล์พบ pili และ flagellum ผนังเซลล์ไม่มี peptidoglycan แต่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ กลไกเพิ่มจำนวนเซลล์หรือแบ่งเซลล์ คือ budding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative anaerobic chemoorganotrophy พบได้โดยทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม
 
Phylum VI Bacteroides    / Flavobacteria

  
       แบคทีเรียสกุล Bacteroides , Flavobacterium    และ Cytophaga    เป็นสมาชิกของไฟลัม แบคทีเรียดังกล่าวเป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปท่อนตรง ท่อนโค้ง หรือท่อนเกลียว ขนาด 0.5 x 0.5-10 ?m ไม่เคลื่อนที่ หรือเคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา บางสกุลโคโลนีมีสีเหลือง บางสกุลเคลื่อนที่แบบ gliding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic or anaerobic chemoorganotrophy
พบได้ทั่วไปในดิน ขอนไม้ที่กำลังผุพัง ช่องปากและทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์

Phylum VII Green Sulfur Bacteria

  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน กลม หรือเป็นเกลียว ไม่เคลื่อนที่ โดยมากจะพบการสะสม sulfur granules ด้านนอกเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic photolithotrophy พบ bacteriochlorophyll ในโครงสร้างที่เรียกว่า chlorosomes โดยส่วนใหญ่จะใช้ hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate หรือ hydrogen เป็นแหล่งของอิเลกตรอน มีรายงานว่าพบแบคทีเรียไฟลัมดังกล่าวในทะเลสาบที่มี sulfide ในปริมาณสูง 
Phylum VIII Tightly Coiled Bacteria: The Spirochetes
  
       แบคทีเรียในไฟลัมนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนเกลียว ยาว ขนาด 0.1-5 x 0.75-250 ?m เคลื่อนที่ได้โดยใช้ axial filament กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic, microaerophilic, facultatively aerobic หรือ anaerobic chemoorganotrophy ในธรรมชาติพบทั้งพวกที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ (สกุล Spirochaeta    ) เป็น symbionts (สกุล Cristispira    ) หรือเป็นพาราไซต์ในสิ่งมีชีวิตอื่น ( สกุล Borrelia , Treponema , Leptospira    )

Phylum IX Deinococci
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่มี outer membrane กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy แบคทีเรียในไฟลัมนี้ทนต่อรังสีชนิดต่างๆได้ดี ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่เจริญที่อุณหภูมิสูง ที่รู้จักกันดี คือ Thermus aquaticus    ที่ใช้ผลิต Taq polymerase

Phylum X Green Nonsulfur Bacteria
  
       Green nonsulfur bacteria เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มีลักษณะเซลล์เป็นเส้นสาย เคลื่อนที่โดยใช้วิธี gliding ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ obligately anaerobic photolithotrophy or chemoorganotrophy พบ bacteriochlorophyll ใน chlorosomes ใช้ hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate หรือ hydrogen เป็นแหล่งของอิเลกตรอน ที่เยื่อหุ้มเซลล์ไม่พบ glycerol และ ester- หรือ ether-linkage ในส่วนที่เป็นไขมัน แหล่งที่พบในธรรมชาติ คือ ในทะเลสาบที่มี sulfide ในปริมาณสูง  

Phylum XI Thermotoga
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มี sheath-like envelope ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic chemoorganotrophy พบมากตามบ่อน้ำพุร้อน

Phylum XII Thermodesulfobacterium
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ไขมันที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นแบบ ether-linked lipid คล้ายกับ archaebacteria ใน Domain Archaea ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ คือ 70 o C กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic chemoorganotrophy มักพบตามแหล่งธรรมชาติที่มี sulfate ปริมาณสูง พบมากตามบ่อน้ำพุร้อน   
   
Phylum XIII Equifax     and Relatives
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ คือ 85 o C อย่างไรก็ตามที่อุณหภูมิ 95 o C สามารถพบการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มนี้ได้ จากคุณลักษณะดังกล่าวจึงจัดแบคทีเรียนี้เป็น hyperthermophilic bacteria กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemolithotrophy มักพบได้ตามปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลลึก ดังนั้นจึงเรียกแบคทีเรียในไฟลัมนี้ว่า submarine volcanic hot spring bacteria
ที่มาhttp://www.sci.nu.ac.th/Biology/Biodiversity/บทที่%203/chap3_file34.htm