ราเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบมากเป็นอันดับสองรองมาจากแมลง ประมาณการว่าจำนวนรามี 1.5 ล้านชนิด(species) แต่ราที่ศึกษามีจำนวน 80,000-120,000 สายพันธุ์ (Webster &Weber 2007) ดังนั้นจึงมีราอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่มีการค้นพบ ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น ดังนั้นจึงพบว่ารามีความหลากหลายมากและกิจกรรมในการย่อยสลายวัสดุต่างๆก็เกิดขึ้นมากทำให้นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศทำการค้นคว้าเพื่อการค้นพบราสายพันธุ์ใหม่จากวัสดุต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์ อุตสาหกรรมและการแพทย์
ราพบได้ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำเค็ม ในอากาศ บนพืช มูลสัตว์ ดิน รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ของใช้ และวัสดุต่างๆ ได้ศึกษาวิจัยราจากดินและเศษซากพืช พบราที่น่าสนใจหลายชนิด บางชนิดเป็นราสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยรายงานพบมาก่อน ราบางชนิดสร้างเอนไซม์ และสารทุติยภูมิ (secondary metabolites) ที่สามารถจะพัฒนาไปใช้เป็นยาป้องกันกำจัดรา แบคทีเรีย ยีสต์สาเหตุโรคพืช โรคคนและสัตว์ พบรา Neurospora, Gelasinospora หลายชนิดจากดินในแหล่งต่างๆ ทั้งดินป่าและดินทำการเกษตร วิธีการแยกราดังกล่าวใช้ความร้อนและอัลกอฮอล์ ดินเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย และพบรา Gelasinospora ซึ่งเป็นราเอนโดไฟท์จากใบเพกา (Oroxylum indicum) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
Neurospora lineolata
Gelasinospora sp.1
Gelasinospora hapsidophora
ราจากเศษซากพืชที่ร่วงหล่นที่น่าสนใจได้แก่ Ellisiopsis gallesiae, Helicomyces sp., Tetraploa aristata, Torula herbarum, Wiesneriomyces javanicus และ Zalerion varium รา Tetraploa aristata ซึ่งรายงานพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย แยกได้จากกาบไผ่ จ. สระบุรี Saparrat et al. (2002) แยกราT. aristatจากอินทรียวัตถุที่ปนเปื้อนด้วยคราบน้ำมันในแม่น้ำ Santiago เมืองบรูโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินาและพบว่าราสร้างเอนไซม์แลคเคส (extracellular laccase) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการย่อยสลายสารระเหยที่ปนเปื้อนในอากาศ (aromatic pollutants) ที่มีความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม (bioremediation) นอกจากนี้พบว่ารา Hyphomycetes หลายชนิดสร้างเอนไซม์ดังกล่าวในปริมาณสูงกว่าที่พบในราจำพวกเห็ด (ligninolytic Basidiomycetes) เช่น Thelephora terrestris และ Pycnoporus sanguineus
Helicomyces sp
Wiesneriomyces javanicus
Tetraploa aristata
ราที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร
ประโยชน์ของราทางโรคพืช ราดินและราเอนโดไฟท์บางชนิดสามารถยับยั้งการเจริญการเจริญของรา Rhizoctonia spp. สาเหตุโรคใบไหม้ของข้าว ข้าวโพดและทุเรียน ราดินที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเจริญของรา Rhizoctonia spp ได้แก่ Humicola sp, Chaetomium globosum, C. cupreum และ Trichoderma sp. ส่วนรา Sordaria fimicola และ Talaromyces flavus ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของรา Rhizoctonia แต่สามารถยับยั้งการเจริญของรา Alternaria alternata, Colletotrichum capsici, C. gloeosporioides, Curvularia lunata, Fusarium oxysporum, Helminthosporium maydis, H. oryzae, Peronophythora litchi, Pestalotiopsis guepinii, Phyllosticta sp., Phytophthora palmivora and P. parasitica. และพบว่าราเอนโดไฟท์ซึ่งเจริญช้าและไม่สร้างสปอร์ที่แยกได้จากใบอุตพิต (Typhomium trilobatum, วงศ์ Araceae) จากจังหวัดสุพรรณบุรี สามารถยับยั้งการเจริญของรา Rhizoctonia spp., Pythium utimum และ Phytophthora cinnamomi
Chaetomium cupreum vs Rhizoctonia (KUFC 5624)
Humicola sp. vs Rhizoctonia (KUFC 5624)
ราเอนโดไฟท์ (กลาง) E0-1 vs Rhizoctonia (KUFC 5624)
ราเอนโดไฟท์ (กลาง) E0-1vs Rhizoctonia (KUFC 5625)
ประโยชน์ของราที่เจริญในทะเล
โลกประกอบด้วยน้ำทะเลประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้นจึงได้มีนักวิจัยให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลกันมาก โดยเฉพาะราที่เจริญในน้ำทะเล (marine fungi) บนวัสดุต่าง ๆ เช่น ทราย สาหร่าย กิ่งไม้ เศษซากพืช ปะการัง และฟองน้ำที่อยู่ในทะเล ราดังกล่าวมีความสำคัญในการย่อยสลาย เศษซากพืช ปลา และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศทางทะเลทำให้เกิดความสมดุลย์ รวมทั้งยังสามารถสร้างเอนไซม์และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่สำคัญจำนวนมากซึ่งมีการพัฒนาไปเป็นยารักษาโรค เครื่องสำอาง เอนไซม์และเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ ได้มีการค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่จากราที่เจริญในน้ำทะเลหลายชนิด Bhadury et al. (2006) รวบรวมรายงานการค้นพบสารชนิดต่างๆ จากราที่เจริญในน้ำทะเล จำนวน 272 ชนิด จากนั้นได้มีการค้นพบสารชนิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีรายงานว่าสารที่สกัดจากราดังกล่าว มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และราที่เป็นสาเหตุโรคของมนุษย์ (Bhadury et al., 2006; Mehta et al., 2004) และพบว่าสารบางชนิดมีคุณสมบัติเป็นสารต้านมะเร็ง (Schwartsmann et al., 2003; Holler et al., 2000) ยับยั้งการเจริญของเชื้อมาลาเรีย (Chinworrungsee et al., 2001) ยับยั้งการอักเสบ (Mayer and Hamann, 2004) รวมทั้งมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ(Abdel-Lateff et al., 2003) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาทางเภสัชกรรมและทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่งVerruculina enalia
Aigialus parvus
Dactylospora haliotrepha
ประโยชน์ของราเอนโดไฟท์
ราเอนโดไฟท์เป็นราที่เจริญอยู่ภายในกิ่ง ใบ และส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยไม่ทำให้พืชเกิดโรค การศึกษาวิจัยเรื่องราเอนโดไฟท์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืชทางชีววิธีจึงมีผู้ให้ความสนใจศึกษากันมาก พืชที่นำมาศึกษาควรเป็นพืชที่เจริญในพื้นที่ ที่ปลอดจากมลภาวะ และสารพิษ ได้มีรายงานพบสาร Taxol ซึ่งยับยั้งการเจริญของเชลล์มะเร็ง (anticancer) จากรา Pestalotiopsis microspora (Strobel, 1996) ซึ่งเป็นที่สนใจของวงการแพทย์ จากนั้นจึงได้มีการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง Worapong et al. (2001) พบว่าราเอนโดไฟท์ Muscodor albus จากอบเชย cinnamomum zeylanicum สร้างสารระเหย antimicrobial volatile organic chemical ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดได้แก่ Sclerotinia sclerotiorum, Rhizoctonia solani และ แบคทีเรีย Bacillus substilis Lacey และNeven, 2006 นำสารระเหยที่ได้จากรา M. albus ไปใช้เป็นยาฆ่าแมลงในการกำจัดตัวอ่อนและตัวเต็มวัยผีเสื้อในหัวมันฝรั่ง (potato moth, Phthorimaea operculella) ในโรงเก็บมันฝรั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้พบว่ามีการนำราเอนโดไฟท์ M. albus มาเลี้ยงบนเมล็ดข้าวไรน์ เพื่อให้ราสร้างสารระเหยในการควบคุม Meloidogyne chitwoodi และ M. hapha ใส้เดือนฝอยสาเหตุโรคพืชในห้องปฏิบัติการ และในโรงเรือนปลูกพืชทดลองที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (Riga et al., 2008) จากงานวิจัยพบราเอนโดไฟท์ที่ไม่สร้างสปอร์สร้างเฉพาะเส้นใย (sterile mycelium) ที่แยกจากใบอุตพิษ (Typhonium trilobatum) จาก อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ยับยั้งการเจริญของรา สาเหตุโรคพืชหลายชนิดได้แก่ Pythium ultimum, Phytopthora palmivora, P. cinnamomi, Sclerotinia sclerotiorum, Colletotrichum lagenarium, Rhizoctonia solani และแบคทีเรีย Escherichia coli ราเอนโดไฟท์ที่สร้าง synnemata แยกได้จากกิ่งของกาฝากก่อดำ (Dufrenoya sessilis) จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ยับยั้งการเจริญของราโรคพืชหลายชนิดได้แก่ Phytophthora palmivora, P. paracitica, Fusarium oxysporum, Sclerotium rolfsii และรา Colletotrichum capsici
SEM photomicograph of synnemata showing conidia and conidiophores
synnemata endophytic fungus บน PDA 20 วัน
synemata endophytic fungus (centre) vs Phytophthora palmivora
Coprotus sp.1 (yellow)and Pilobolus (arrow)
Coprotus sp.2
Cercophora sp
Pilobolus sp.
รามูลสัตว์เป็นราที่อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ เป็นราที่ทนทานต่อน้ำย่อยในกระเพาะและสำไส้ของสัตว์ เมื่อสัตว์กินอาหารได้แก่ใบไม้ หรือวัสดุต่างๆที่มีราปนเปื้อน ราจะผ่านระบบทางเดินอาหาร มาอยู่ในมูลสัตว์ ได้เก็บตัวอย่างได้แก่ มูลเก้ง ช้าง และหมูป่า จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ. ภูหลวง จ. เลย ในเดือนพฤศจิกายน 2551 อุณหภูมิ 9-12 oC สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร ถึงยอดสูงสุดของภูหลวง 1,571 เมตร พบรา Discomycetes บนมูลเก้งจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ รา Ascobolus , Saccobolus, Coprotus sp.1 และ Coprotus sp.2 พบรา Pyrenomycetes บนมูลช้างและเก้ง ได้แก่รา Cercophora, Chaetomium, Gelasinospora, Podospora, Sordaria และ Sporormiella ส่วนรา Zygomycetes พบรา Pilobolus บนมูลเก้ง
เห็ดราที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ เห็ดราที่มีสรรพคุณทางยาและอาหารเสริม และเห็ดราที่ใช้ทำสีย้อม
Filoboletus sp.
Ramaria sp.
Geastrum sp.
เห็ดเป็นราชั้นสูงใน Class Basidiomycetes เห็ดเจริญได้ในที่ชื้น บนใบไม้ผุ พบมากในป่า คณะผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างเห็ดจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง พบเห็ดที่น่าสนใจหลายชนิดดังภาพ
อนงค์และคณะ (2551) ได้ศึกษารวบรวมความหลากหลายของเห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง ได้บรรยายลักษณะสำคัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อภาษาไทยของของเห็ดแต่ละชนิด พร้อมทั้งแหล่งที่พบและข้อมูลการนำมาบริโภคเห็ดหลายชนิดที่เจริญบนขอนไม้สามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมไหมพรม ตัวอย่างเช่น Phaeolus schweinitzii Trametes versicolor และT. maxima (Aphyllophorales) (Cedano et al., 2007) Trametes versicolor
Trametes maxima
ประโยชน์ของไลเคน
ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันระหว่าง สาหร่าย (algae) และรา (fungi) แบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis) เจริญอยู่บนหิน (crustose lichen) บนกิ่งไม้ (foliose lichen, fruticose lichen) และบนดิน (squamulose lichen) ไลเคนมีประโยชน์ทางด้านโภชนาการ อียิปต์โบราณนำเข้าไลเคน Evernia prunastri และ E. furfuracea เพื่อผสมแป้งทำขนมปัง เพื่อทำให้รสชาติดีขึ้น อินเดียใช้ Parmelia perlata ซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ราทาพู (rathapu) ผสมแกงกะหรี ญี่ปุ่นใช้ไลเคน Endocarpon (Dermatocarpon) miniatum ซึ่งมีชื่อพื้นเมืองว่า อิวาทาเกะ (iwataka) ในการทำอาหารและส่งออกไปยังประเทศจีน (กัณฑรีย์, 2549; Smith, 1975) สรรพคุณในด้านสมุนไพรและยาชาวอียิปต์โบราณใช้ไลเคนเป็นส่วนประกอบของยาและสมุนไพร ได้มีการค้นพบโถที่บรรจุเมล็ดและส่วนของพืชต่าง ๆ รวมทั้งไลเคน Evernia furfuracea ที่มีอายุประมาณ 1700–1800 ปีก่อนคริสตกาล (กัณฑรีย์, 2549) squamulose lichen Cladonia homchantarae
fruticose lichen Ramalina sp.
foliose lichen Hypotrachyna adducta
crustose lichen Pyrrhospora sp.
ไลเคนมีความหลากหลายและมนุษย์ได้นำมาสกัดสีต่างๆ ไลเคนที่รู้จักกันดีคือ Rocella tinctoria และ Rocella spp. ให้สีออชิลล์ (orchil) เป็นโทนสีม่วง ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ เป็นประเทศที่สกัดสีจากไลเคนและนำไปผลิตเป็นการค้า สีจากไลเคนใช้ย้อมเส้นใยจากสัตว์ เช่นขนสัตว์และไหมได้ดี แต่ย้อมเส้นใยจากพืช เช่น ฝ้าย ไม่ได้ (กัณฑรีย์, 2549) นอกจากนี้ยังมีไลเคนอีกหลายชนิดที่ให้สีย้อมต่าง ๆ เช่น Lecanora tartarea, Parmelia saxatilis ให้สีแดง Parmelia omphalodes, Parmelia saxatilis ให้สีน้ำตาล Haematomma ventosum, H. occineum ให้สีน้ำตาลแดง Xanthoria parietina, Cetraria funlperium, Pertusaria melaleuca และ Usnea barbata ให้สีเหลือง Candellariella vutellina และ Xanthoria lychnea ให้สีเหลืองซึ่งใช้ย้อมเทียนในพิธีทางศาสนา ในสวีเดน นอกจากนี้ไลเคนยังสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศ โดยใน ค.ศ. 1866 Nylander รายงานว่าไม่พบไลเคนเติบโตในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเนื่องจากกควันที่ปล่อยออกมาจากปล่องตามบ้านเรือนและอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า มลพิษมีผลต่อการดำรงชีวิต และการเจริญของไลเคน (Boonpragob et al., 1989) ดังนั้นไลเคนจึงใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศอย่างแพร่หลายในยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ (Greis, 1996; Huckby, 1993; Nash, 1974; Pilegaard, 1978; Boonpragob and Nash, 1990) รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งมักพบไลเคนเจริญบนลำต้นและกิ่งไม้ บนหิน ตามดินที่ชื้นในป่าและสวนผลไม้ (Boonpragob, 2004)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น