ความหลากหลายทางชีวภาพของปริมาณสัตว์น้ำ บริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
บริเวณที่ทำการสำรวจข้อมูลเริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทะเลบริเวณเขตอำเภอขนอมที่เชื่อมต่อกับ อำเภอสิชล ครอบคลุมตลอดแนวชายฝั่งจนถึงรอยต่อกับอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระบบนิเวศในบริเวณนี้มีความหลากหลายและมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหาดทราย หาดโคลนปนทราย และป่าชายเลน และตลอดแนวชายฝั่งมีกิจกรรมการใช้ประโยชน์พื้นที่หลายรูปแบบเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น รีสอร์ท แหล่งท่องเที่ยว หรือชุมชนประมง การสำรวจสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งอ่าวขนอม เป็นการศึกษาเพื่อสำรวจความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งในบริเวณนี้
ออกสำรวจรวบรวมตัวอย่างสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งอำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราช ในเดือนกรกฎาคม จำนวน 4 สถานี ได้แก่ อ่าวเตล็ด อ่าวแขวงเภา หาดหน้าด่าน และหาดในเพลา โดยใช้เครื่องมืออวนทับตลิ่ง พร้อมทั้งเก็บข้อมูลปัจจัยสภาวะสิ่งแวดล้อมที่สำคัญบางประการ ได้แก่ ความลึก อุณหภูมิน้ำ ความเค็ม ความโปร่งแสง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และค่าความเป็นกรด-ด่าง พบว่าสถานีอ่าวเตล็ด มีสัตว์น้ำหลากหลายที่สุด คือพบสัตว์น้ำจำนวน 75 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมาก (เปอร์เซ็นต์โดยจำนวนตัว) ได้แก่ ปลาแป้น ( Leiognathus spendens ) 49.4% ปลาแป้น ( Secutor insidiator )12.0% ปลาแป้น ( L. brevirostris )11.4% กุ้งขาว ( Metapenaeus lysianassa ) 5.0% ปลาบู่จุดเขียว ( Acentrogobius caninus ) 3.8% เป็นต้น สถานีอ่าวแขวงเภา มีสัตว์น้ำหลากหลายรองลงมา คือพบสัตว์น้ำจำนวน 53 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมากได้แก่ ปลาเห็ดโคน( Sillago sihama ) 67.8% ปลาแป้น ( S. insidiator ) 12.3% ปลาแป้น( L. brevirostris) 5.0% ปลาหมูสี ( Lethrinus lentjan ) 2.2% ปลากะตักควาย ( Stolephorus indicus ) 2.0% เป็นต้น สถานีหาดคอเขา พบสัตว์น้ำจำนวน 33 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมากได้แก่ ปลาเห็ดโคน ( Sillago sihama ) 67.3% ปลาดอกหมากกระโดงยาว ( Gerres filamentosus ) 11.3% ปลาแป้น ( Secutor insidiator ) 4.9% ปลาแป้น (Leiognathus brevirostris ) 3.4% ปลากดขี้ลิง ( Arius sagor ) 1.9% กุ้งแชบ๊วย 1.2% เป็นต้น สถานีหาดในเพลา พบสัตว์น้ำจำนวน 32 ชนิด สัตว์น้ำที่สำรวจพบมาก ได้แก่ ปลาดอกหมาก ( G. oyena ) 31.2% ปลาดอกหมากกระโดงยาว( G. filamentosus ) 30.0% ปลาเห็ดโคน( Sillag sihama ) 21.8% ปลาแป้น ( Secutor insidiator ) 9.8% เป็นต้น
http://eic.wu.ac.th/Biodiversity/biodiv_aquatic.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น