บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่่่อในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหลากหลายของจุลินทรีย์


จุลินทรีย์โพรแคริโอตและจุลินทรีย์ยูแคริโอต
  
       กลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นเซลล์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยโดยพิจารณาจากโครงสร้างของเซลล์ คือ จุลินทรีย์ที่โครงสร้างเป็นแบบเซลล์โพรแคริโอต (Prokaryotic microorganisms)

 คือ แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ที่โครงสร้างเป็นแบบเซลล์ยูแคริโอต (Eukaryotic microorganisms)
 เช่น เชื้อรา สาหร่าย และโปรโตซัว จุลินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็นแบบเซลล์โพรแคริโอต

สารพันธุกรรม (Genetic materials) จะไม่อยู่ภายในนิวเคลียส (Nucleus) และไม่พบออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม (Membranous organelles; membrane-enclosed organelles; membrane-bound organelles) อยู่ภายในเซลล์ ซึ่งแตกต่างจากจุลินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็นแบบเซลล์ยูแคริโอตที่พบสารพันธุกรรมอยู่ภายในนิวเคลียส และพบออร์แกเนลที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม

ความหลากหลายของแบคทีเรีย
  
       ปัจจุบันนักจุลชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรียจัดหมวดหมู่แบคทีเรียออกเป็น 13 Phylum คือ
     1. Proteobacteria (Phylum I)
     2. Gram-Positive Bacteria (Phylum II)
     3. Cyanobacteria, Prochlorophytes, and Chloroplasts (Phylum III)
     4. Chlamydias (Phylum IV)
     5. Planctomyces    / Pirella    (Phylum V)
     6. Bacteroides    / Flavobacteria     (Phylum VI)
     7. Green Sulfur Bacteria (Phylum VII)
     8. Tightly Coiled Bacteria: The Spirochetes (Phylum VIII)
     9. Deinococci (Phylum IX)
     10. Green Nonsulfur Bacteria (Phylum X)
     11. Thermotoga     (Phylum XI)
     12. Thermodesulfobacterium    (Phylum XII)
     13. Aquifex     and Relatives (Phylum XIII)

Phylum I Proteobacteria
  
       แบคทีเรียทุกชนิดในไฟลัมนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ (Gram-Negative Bacteria) (อธิบายเพิ่มเติม) ซึ่งมีความหลากหลายของกระบวนการเมตาบอลิสมในระดับที่สูง ปัจจุบันพบว่า Proteobacteria เป็นกลุ่มแบคทีเรียกลุ่มใหญ่ หลายชนิดมีความสำคัญทั้งในทางการแพทย์ อุตสาหกรรม และการเกษตร ตัวอย่างของแบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 17 กลุ่ม คือ
  
       1. Purple Phototrophic Bacteria
     2. Nitrifying Bacteria
     3. Sulfur-and Iron-Oxidizing Bacteria
     4. Hydrogen-Oxidizing Bacteria
     5. Methanotrophs and Methylotrophs
     6. Pseudomonas and the Pseudomonads
     7. Acetic Acid Bacteria
     8. Free-Living Aerobic Nitrogen-Fixing Bacteria
     9. Neisseria , Chromobacterium , and Relatives
     10. Enteric Bacteria
     11. Vibrio    and Photobacterium
       12. Rickettsias
     13. Spirilla
     14. Sheathed Proteobacteria
     15. Budding and Prosthecate/Stalked Bacteria
     16. Gliding Myxobacteria
     17. Sulfate-and Sulfur-Reducing Bacteria

1. Purple Phototrophic Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน (Rods) ขนาด 1.5-4 x 4-40 ?m บางชนิดมีรูปร่างเป็นเกลียว (spirals) รูปไข่ (ovoid) หรือคล้ายเมล็ดถั่ว (bean-shaped) บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย polar flagella แบคทีเรียในไฟลัมนี้พบอาศัยในทะเลสาบ และตะกอนที่ทับถมของทะเลสาบโดยเฉพาะในบริเวณที่มี sulfide อยู่ในปริมาณที่สูง
      Purple phototrophic bacteria มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ strictly anaerobic anoxygenic phototrophy แหล่งคาร์บอนที่สำคัญ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) โดยอาศัย Calvin cycle ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 fixation) แหล่งของอิเลกตรอนมักเป็น hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate และ hydrogen นอกจากนี้ที่สำคัญแบคทีเรียในกลุ่มนี้พบ Bacteriochlorophyll
 แบคทีเรียในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มย่อยที่ 1 Purple sulfur bacteria ซึ่งมีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ photolithoautotrophy พบได้ในหลายสกุล เช่น Chromatium , Halorhodospira , Thiocapsa , Thiococcus , Thiopedia    และ Thiospirillum  
 กลุ่มย่อยที่ 2 Purple nonsulfur bacteria ที่พบกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ photoorganoautotrophy ตัวอย่างแบคทีเรียในกลุ่มย่อยนี้ คือ Rhodobacter , Rhodocyclus , Rhodopseudomonas    และ Rhodophila
  
   
2. Nitrifying Bacteria

           เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนขนาด 0.8-1 x 1-2 ?m บางชนิดมีรูปร่างกลม รูปเกลียว มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic lithotrophy
 ซึ่งใช้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ carbonate เป็นแหล่งคาร์บอนโดยอาศัย Calvin cycle ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แบคทีเรียในกลุ่มนี้หลายชนิดได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจน แบคทีเรียในกลุ่มนี้พบได้ทั่วไปในดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งน้ำเค็ม ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Nitrobacter    และ Nitrosomonas
3. Sulfur-and Iron-Oxidizing Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนขนาด 0.8-1 x 1-2 ?m บางชนิดมีรูปร่างกลมรูปเกลียว มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic lithotrophy คล้ายกับ Nitrifying bacteria แบคทีเรียในกลุ่มนี้บางสกุล เช่น Thiobacillus    และ Thiomicrospora ได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารประกอบอนินทรีย์ซัลเฟอร์ และ/หรือ จากกระบวนการรีดักชันสารประกอบอนินทรีย์ซัลเฟอร์และสารประกอบอนินทรีย์ของเหล็ก แหล่งอาศัยทั่วไป คือ ดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งน้ำเค็ม โดยเฉพาะบริเวณน้ำพุร้อนที่มีซัลเฟอร์ในปริมาณที่สูง
4. Hydrogen-Oxidizing Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนขนาด 0.8-1 x 1-2 ?m บางชนิดมีรูปร่างกลม
รูปเกลียว มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic lithotrophy คล้ายกับ Nitrifying bacteria และ Sulfur-and Iron-oxidizing bacteria เพียงแต่แตกต่างกันที่แบคทีเรียในกลุ่มนี้ได้พลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันสารประกอบอนินทรีย์ไฮโดรเจน ตัวอย่างแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ แบคทีเรียในสกุล Alcaligenes    ซึ่งพบได้ทั่วไปในดิน แหล่งน้ำจืด และแหล่งน้ำเค็ม
5. Methanotrophs and Methylotrophs


      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลกเจลลา เช่น Methylomonas บางสกุลเซลล์มีรูปร่างกลม และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น Methylococcus    นอกจากนี้แบคทีเรียในกลุ่มนี้บางสกุลมีรูปร่างท่อนโค้ง สามารถเคลื่อนที่ได้ (motile vibrios) เช่น Methylosinus    แหล่งอาศัยของแบคทีเรียกลุ่มนี้คือ ดิน และน้ำ
6. Pseudomonas and the Pseudomonads


      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน หรือท่อนโค้ง ขนาด 0.5-1.5 x 1.4-6 ?m สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลกเจลลาชนิด polar flagella มีกระบวนการเมตาบอลิสมแบบ aerobic and facultative aerobic chemoorganotrophy ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Pseudomonas , Agrobacterium , Rhizobium    และ Zymomonas    เป็นต้น
7.Acetic Acid Bacteria

      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน หรือท่อนโค้ง ขนาด 0.3-2.0 x 0.9-20 ?m สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแฟลกเจลลาชนิด polar flagella เช่น แบคทีเรียสกุล Gluconobacter    และโดยอาศัยแฟลกเจลลาชนิด peritrichous flagella เช่น แบคทีเรียสกุล Acetobacter    กระบวนการเมตาบอลิสมที่พบเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy ผลที่ได้จากกระบวนการเมตาบอลิสมเพื่อการสร้างพลังงานจากกระบวนการออกซิเดชันเอธิลแอลกอฮอล์ของแบคทีเรียกลุ่มนี้ คือ กรดแอซีติก (acetic acid) ดังนั้นจึงเรียกชื่อแบคทีเรียกลุ่มนี้ว่า acetic acid bacteria
8.Free-Living Aerobic Nitrogen-Fixing Bacteria

  แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปร่างเป็นรูปท่อนขนาดใหญ่ บางชนิดรูปร่างเซลล์คล้ายผลแพร์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ?m กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic or microaerophilic chemoorganotrophy ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ แบคทีเรียในสกุล Azotobacter    และ Azomonas    
9. Neisseria , Chromobacterium , and Relatives

      แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์เป็นรูปท่อน รูปท่อนค่อนข้างกลม (rod-coccoid) ส่วนมากไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ (nonmotile) บางชนิดมีความสามารถในการสร้างรงควัตถุ เช่น Chromobacterium violaceum    กระบวนการเมตาบอลิสมที่พบเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้เช่น Acinetobacter    พบได้ในดิน และน้ำ นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถก่อโรคได้ในมนุษย์และสัตว์ เช่น Neisseria    
10. Enteric Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนตรง ขนาด 0.3-1.0 x 1-6 ?m บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย peritrichous flagella บางชนิดขาดความสามารถในการเคลื่อนที่ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative aerobic chemoorganotrophy พบเป็น normal flora และ/หรือ parasites ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก และพืชหลายชนิด ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Escherichia , Salmonella , Proteus    และ Enterobacter    เป็นต้น
11. Vibrio     and Photobacterium

     เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนโค้ง ขนาด 0.3-1.0 x 1-6 ?m บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย peritrichous หรือ polar flagella บางชนิดขาดความสามารถในการเคลื่อนที่ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative aerobic chemoorganotrophy แหล่งอาศัยโดยทั่วไป คือ แหล่งน้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม นอกจากนี้ยังพบว่าบางชนิดก่อให้เกิดโรคในคน และสัตว์หลายชนิด ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้ คือ Vibrio    และ Photobacterium    
12. Rickettsias

      แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียในสกุล Coxiella , Rickettsia    และ Rochalimae    ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน หรือค่อนข้างกลม บางชนิดมีรูปร่างไม่แน่นอน (pleomorphic shape) ขนาด 0.3-0.7 x 1-2 ?m ไม่เคลื่อนที่ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic organotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียก่อโรค (pathogenic bacteria)
13. Spirilla

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนโค้งเป็นเกลียว ขนาด 0.2-1.4 x 1.7-60 ?m บางสกุลเคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา ( Spirillum , Aquaspirillum    ) หรือไม่เคลื่อนที่ ( Spirosomaceae , Microcyclus   ) กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic, microaerophilic or facultative anaerobic chemoorganotrophy ส่วนใหญ่แบคทีเรียกลุ่มนี้จะดำรงชีวิตอย่างอิสระ อย่างไรก็ตามบางสกุลก่อให้เกิดโรคแก่สัตว์ เช่น Campylobacter    เป็นต้น
14. Sheathed Proteobacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มีลักษณะของเซลล์เป็นเส้นสาย (filamentous bacteria) บางสกุลเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย subpolar flagella บางสกุลไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น Crenothrix    แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็น aerobic metal oxidizers พบได้โดยทั่วไปในแหล่งน้ำชนิดต่างๆ
15. Budding and Prosthecate/Stalked Bacteria

      แบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ขนาด 0.5-1 x 1-3 ?m เคลื่อนที่ได้โดยใช้แฟลก
เจลลา พบการเพิ่มจำนวนของเซลล์โดยใช้กลไก budding และ/หรือ พบโครงสร้างที่เรียกว่า Prostheca กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy พบได้ง่ายในแหล่งน้ำที่มีสารอาหารค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างของแบคทีเรียในกลุ่มนี้คือ Hyphomicrobium    และ Caulobacter   
16. Gliding Myxobacteria

      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ขนาด 0.6-0.9 x 3-8 ?m สามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัย gliding mechanism ลักษณะเด่นอีกประการของแบคทีเรียในกลุ่มนี้คือ สามารถสร้างโครงสร้างที่เรียกว่า Fruiting bodies ที่มี myxospores เมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy บางชนิดเป็น micropredator หลายชนิดมีความสามารถในการสร้าง bioactive compounds ที่สามารถนำไปใช้ได้ในทางการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม แบคทีเรียกลุ่มนี้พบได้ทั่วไปในดิน บริเวณที่มีการย่อยสลายของซากพืชและซากสัตว์ และมูลสัตว์ ตัวอย่างของแบคทีเรียดังกล่าวคือ Myxococcus , Chondromyces    และ Stigmatella   
17. Sulfate-and Sulfur-Reducing Bacteria

     เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนตรง ท่อนโค้ง ท่อนเกลียว ขนาด 0.5-1.5 x 3-10 ?m กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic dissimilatory organotrophic bacteria ซึ่งมีการใช้ sulfate และ sulfur เป็น electron acceptors แบคทีเรียกลุ่มนี้พบได้ในตะกอนของแหล่งน้ำ และบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมักพบ sulfur เป็นองค์ประกอบ ตัวอย่างของแบคทีเรียดังกล่าว คือ Desulfovibrio , Desulfobacter    และ Desulfuromonas   
Phylum II Gram-Positive Bacteria
  
       แบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มย่อย คือ
1. Nonsporulating, Low GC, Gram-Positive Bacteria
2. Endospore-Forming Gram-Positive Rods and Cocci
3. Cell Wall-Less, Low GC, Gram-Positive Bacteria
4. High GC, Gram-Positive Bacteria: Coryneforms and Propionic Acid Bacteria
5. High GC, Gram-Positive Bacteria: Mycobacterium
6. Filamentous, High GC, Gram-Positive Bacteria: The Actinomycetes

1. Nonsporulating, Low GC, Gram-Positive Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปกลม ไม่เคลื่อนที่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-2.5 ?m อาจพบเป็นเซลล์เดี่ยว ( Micrococcus    ) เป็นกลุ่ม ( Staphylococcus    ) เป็นสาย ( Streptococcus    ) แบคทีเรียกลุ่มนี้ไม่สร้างสปอร์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic, facultative anaerobic or microaerophilic chemoorganotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้โดยเฉพาะ Lactic acid bacteria สามารถหมักน้ำตาลและสร้างกรดแลกติก และ/หรือผลิตภัณฑ์จากกระบวนการหมักได้ ขึ้นอยู่กับกระบวนการหมักเป็นแบบ homolactic fermentation ( Streptococcus , Pediococcus , Enterococcus , Lactococcus , Lactobacillus spp.) หรือ heterolactic fermentation ( Leuconostoc , Lactobacillus spp.)
2. Endospore-Forming Gram-Positive Rods and Cocci

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปท่อน สามารถสร้างเอนโดสปอร์ (endospores) ส่วนใหญ่เคลื่อนที่โดยใช้ peritrichous flagella ( สกุล Bacillus , Clostridium    ) หรือเคลื่อนที่โดย Gliding ( สกุล Heliobacterium    ) นอกจากนี้พบว่าบางสกุลมีรูปร่างเป็นแบบ tetrad ( สกุล Pediococcus ) หรือ Sarcina ( สกุล Sporosarcina    ) แบคทีเรียในกลุ่มนี้มีความหลากหลายของกระบวนการเมตาบอลิสมขึ้นอยู่กับสกุลของแบคทีเรีย เช่น facultative anaerobic chemoorganotrophy ( สกุล Bacillus    ), microaerophilic chemoorganotrophy ( สกุล Clostridium , Desulfotomaculum , Sporosarcina    ),obligately anaerobic chemoorganotrophy ( สกุล Acetobacterium , Clostridium , Desulfotomaculum   ), obligately anaerobic phototrophy ( สกุล Heliobacterium   )

3. Cell Wall-Less, Low GC, Gram-Positive Bacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างไม่แน่นอน ขนาด 0.1-0.25 x 3-150 ?m ไม่มี
ผนังเซลล์ พบ sterols เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนมากไม่เคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่โดยใช้ gliding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative or obligately anaerobic chemoorganotrophy ตัวอย่างของแบคทีเรียกลุ่มนี้ คือ Mycoplasma    และ Spiroplasma   
4. High GC, Gram-Positive Bacteria: Coryneforms and Propionic Acid Bacteria

     เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ท่อนตรง หรือท่อนโค้ง ไม่เคลื่อนที่ บางสกุล เช่น Propionibacterium    มีรูปร่างไม่แน่นอน แบคทีเรียในกลุ่มนี้มีความหลากหลายของกระบวนการเมตาบอลิสมขึ้นอยู่กับสกุลของแบคทีเรีย เช่น aerobic chemoorganotrophy
(สกุล Corynebacterium    ) และ anaerobic chemoorganotrophy ( สกุล Propionibacterium    ) แบคทีเรียกลุ่มนี้บางชนิดเป็นสาเหตุของโรคพืชและสัตว์ แต่ส่วนใหญ่เป็น normal flora
5. High GC, Gram-Positive Bacteria: Mycobacterium

      เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ท่อนตรง หรือท่อนโค้ง ขนาด 0.2-0.6 x 1-10 ?m
ผนังเซลล์มี mycolic acid เป็นองค์ประกอบ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็น pathogenic bacteria
6. Filamentous, High GC, Gram-Positive Bacteria: The Actinomycetes

      แบคทีเรียในกลุ่มนี้เป็นแบคทีเรียแกรมบวก เซลล์มีลักษณะเป็นเส้นสายคล้ายเส้นใยของเชื้อรา แบคทีเรียกลุ่มนี้มีความหลากหลายในแง่ของฟีโนไทป์ โดยเฉพาะลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเซลล์ในแง่ต่างๆ แบคทีเรียในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆหลายกลุ่มคือ Nocardioforms, Actinomycetes with multilocular sporangia, Actinoplanetes , Streptomyces     and related genera, Maduromycetes , Thermonospora     and related genera, Thermoactinomycetes  
Phylum III Cyanobacteria, Prochlorophytes, and Chloroplasts   
       แบคทีเรียในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
  
  1.Cyanobacteria

      เป็นแบคทีเรียแกรมลบ พบทั้งเซลล์เดี่ยว ( สกุล Anacystis , Synechococcus , Pleurocapsa    ) หรือเป็นเส้นใย ( สกุล Anabena , Nostoc , Oscillatoria    ) เคลื่อนที่แบบ gliding พบ gas vesicles เป็นองค์ประกอบในเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic oxygenic photolithotroph แบคทีเรียในกลุ่มนี้พบ phycobiliproteins และ Chlorophyll a

2.Prochlorophytes and Chloroplasts
     เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปร่างกลม ( สกุล Prochloron    ) หรือเป็นเส้นใย ( สกุล Prochlorothrix    ) กลุ่มนี้จะพบ thylakoid membrane system ซึ่งมี chlorophyll a หรือ chlorophyll b แต่ไม่พบ phycobiliproteins กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic oxygenic photolithotrophy

Phylum IV Chlamydias  

  
        เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-1.5 ?m ไม่เคลื่อนที่ ไม่มี peptidoglycan เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy พบโครงสร้างที่เรียกว่า reticulate bodies และ elementary bodies แบคทีเรียในไฟลัม Chlamydias เป็น obligate intracellular parasite 
Phylum V Planctomyces    / Pirella
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์รูปไข่อยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า stalk ที่มีลักษณะเล็กและบาง บริเวณส่วนนอกเซลล์พบ pili และ flagellum ผนังเซลล์ไม่มี peptidoglycan แต่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ กลไกเพิ่มจำนวนเซลล์หรือแบ่งเซลล์ คือ budding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ facultative anaerobic chemoorganotrophy พบได้โดยทั่วไปในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม
 
Phylum VI Bacteroides    / Flavobacteria

  
       แบคทีเรียสกุล Bacteroides , Flavobacterium    และ Cytophaga    เป็นสมาชิกของไฟลัม แบคทีเรียดังกล่าวเป็นแบคทีเรียแกรมลบ เซลล์มีรูปท่อนตรง ท่อนโค้ง หรือท่อนเกลียว ขนาด 0.5 x 0.5-10 ?m ไม่เคลื่อนที่ หรือเคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลา บางสกุลโคโลนีมีสีเหลือง บางสกุลเคลื่อนที่แบบ gliding กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic or anaerobic chemoorganotrophy
พบได้ทั่วไปในดิน ขอนไม้ที่กำลังผุพัง ช่องปากและทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์

Phylum VII Green Sulfur Bacteria

  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน กลม หรือเป็นเกลียว ไม่เคลื่อนที่ โดยมากจะพบการสะสม sulfur granules ด้านนอกเซลล์ กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic photolithotrophy พบ bacteriochlorophyll ในโครงสร้างที่เรียกว่า chlorosomes โดยส่วนใหญ่จะใช้ hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate หรือ hydrogen เป็นแหล่งของอิเลกตรอน มีรายงานว่าพบแบคทีเรียไฟลัมดังกล่าวในทะเลสาบที่มี sulfide ในปริมาณสูง 
Phylum VIII Tightly Coiled Bacteria: The Spirochetes
  
       แบคทีเรียในไฟลัมนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อนเกลียว ยาว ขนาด 0.1-5 x 0.75-250 ?m เคลื่อนที่ได้โดยใช้ axial filament กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic, microaerophilic, facultatively aerobic หรือ anaerobic chemoorganotrophy ในธรรมชาติพบทั้งพวกที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ (สกุล Spirochaeta    ) เป็น symbionts (สกุล Cristispira    ) หรือเป็นพาราไซต์ในสิ่งมีชีวิตอื่น ( สกุล Borrelia , Treponema , Leptospira    )

Phylum IX Deinococci
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่มี outer membrane กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemoorganotrophy แบคทีเรียในไฟลัมนี้ทนต่อรังสีชนิดต่างๆได้ดี ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่เจริญที่อุณหภูมิสูง ที่รู้จักกันดี คือ Thermus aquaticus    ที่ใช้ผลิต Taq polymerase

Phylum X Green Nonsulfur Bacteria
  
       Green nonsulfur bacteria เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มีลักษณะเซลล์เป็นเส้นสาย เคลื่อนที่โดยใช้วิธี gliding ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ obligately anaerobic photolithotrophy or chemoorganotrophy พบ bacteriochlorophyll ใน chlorosomes ใช้ hydrogen sulfide, sulfur, thiosulfate หรือ hydrogen เป็นแหล่งของอิเลกตรอน ที่เยื่อหุ้มเซลล์ไม่พบ glycerol และ ester- หรือ ether-linkage ในส่วนที่เป็นไขมัน แหล่งที่พบในธรรมชาติ คือ ในทะเลสาบที่มี sulfide ในปริมาณสูง  

Phylum XI Thermotoga
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่มี sheath-like envelope ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic chemoorganotrophy พบมากตามบ่อน้ำพุร้อน

Phylum XII Thermodesulfobacterium
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ไขมันที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นแบบ ether-linked lipid คล้ายกับ archaebacteria ใน Domain Archaea ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ คือ 70 o C กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ anaerobic chemoorganotrophy มักพบตามแหล่งธรรมชาติที่มี sulfate ปริมาณสูง พบมากตามบ่อน้ำพุร้อน   
   
Phylum XIII Equifax     and Relatives
  
       เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปท่อน ส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญ คือ 85 o C อย่างไรก็ตามที่อุณหภูมิ 95 o C สามารถพบการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มนี้ได้ จากคุณลักษณะดังกล่าวจึงจัดแบคทีเรียนี้เป็น hyperthermophilic bacteria กระบวนการเมตาบอลิสมเป็นแบบ aerobic chemolithotrophy มักพบได้ตามปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลลึก ดังนั้นจึงเรียกแบคทีเรียในไฟลัมนี้ว่า submarine volcanic hot spring bacteria
ที่มาhttp://www.sci.nu.ac.th/Biology/Biodiversity/บทที่%203/chap3_file34.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น