บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่่่อในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหลากชนิดของปลาในพื้นที่พรุของประเทศไทย


ความหลากชนิดของปลาในพื้นที่พรุของประเทศไทย

 พรรณปลาน้ำจืดของประเทศไทยนั้น พบแล้วประมาณ 720 ชนิด จาก 56 วงศ์ หลังจากที่รายงานไว้ 573 ชนิด ปลาที่พบในพื้นที่พรุของประเทศไทยนี้มีความหลากหลายมากที่สุดคือ ในบริเวณพรุโต๊ะแดง พบอย่างน้อย 95 ชนิด ที่พรุคันธุลีพบอย่างน้อย 32 ชนิด และพรุซับจำปาพบเพียง 7 ชนิด

 ชนิดที่พบเฉพาะพื้นที่พรุ (stenotopic) 33 ชนิด

 ชนิดอื่นๆ ที่ปรับตัวได้ในพื้นที่พรุ (peat adaptive) 67 ชนิด

 ชนิดที่อยู่ในสภาวะถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ 9 ชนิด ได้แก่ ปลาตะพัด Scleropages formosus ซึ่งเคยมีรายงานพบที่พรุโต๊ะพราน จังหวัดปัตตานี ปลาซิวหนู Bararas urophthalmiodes ปลาชะโอน Ompok hypophthalmus ปลาหนวดแมว O. eugeniatus ปลาขยุยพรุ Parakysis verrucosus ปลากะแมะ Chaca bankanensis ปลาลำพั น Clarias nieuhoffi ปลากัดน้ำแดง Betta pi และปลากระดี่มุก Trichogaster leeri
พรรณปลาที่พบในพื้นที่พรุนี้เป็นชนิดที่พบเฉพาะพรุ 33 ชนิด เช่น ปลากะแมะ Chaca bankanensis ปลาช่อนเข็ม Luciocephalus pulcher ปลาซิวเพชรน้อย Boraras maculatus เป็นต้น นอกจากนี้เป็นชนิดที่อาศัยในแหล่งน้ำทั่วไปแต่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่พรุและแหล่งน้ำ รอบข้างได้ดีพบ 67 ชนิด เช่น ปลาสลาด Notopterus notopterus ปลา ไส้ตันตาแดง Cyclocheilichthys apogon ปลากะทุงเหว Xenentodon cancilla ปลาสลิด Trichogaster pectoralis เป็นต้น
ปลาพรุที่สามารถปรับตัวได้ในพื้นที่ที่เปลี่ยนสภาพมี 3 ชนิดคือ ปลาลำพัน Clarias nieuhofi ปลาซิวแถบเหลือง Rasbora pauciperforata และปลาหมอช้างเหยียบพรุ Pristolepis grootei ทั้งหมดนี้พบรวม 29 วงศ์ 100 ชนิด เป็นวงศ์ปลาตะเพียน สร้อย ซิว (Cyprinidae) มากที่สุดคือ 31 ชนิด กลุ่มปลาดุก กด เนื้ออ่อน (catfishes) พบ 6 วงศ์ 21 ชนิด กลุ่มปลาหมอ กัด กระดี่ รวม 4 วงศ์ 13 ชนิด และวงศ์ปลาช่อน (Channidae) และอื่นๆ รวม 18 วงศ์ 30 ชนิด มี 2 ชนิดที่คาดว่าเคยมี หรือน่าจะพบคือ ปลาแขยงแคระ Hyalobagrus ornatus และปลาดุกแคระ Encheloclarias keliloides ซึ่งพบทั่วไปในพื้นที่พรุของประเทศมาเลเซีย
คำว่า "พรุ" ที่ใช้กันในประเทศใช้เรียกบริเวณที่เป็นลุ่มชุ่มน้ำ หรือมีน้ำแช่ขัง มีซากผุของพืชทับถมมากหรือน้อย เวลาเหยียบมีความหยุ่น สภาพเช่นนี้ในภาคกลางเรียกที่ลุ่มสนุ่น สภาพดินพรุที่มีการทับถมของซากพืชเรียกว่าดินอินทรียวัตถุ (organic soils) หรือดินชุดนราธิวาส(Narathiwat Serics) ซากอินทรียวัตถุที่ทับถมถ้าหากสลายหมดจนไม่เห็นซากพืชเรียกมัค (muck) ถ้าสลายไม่หมดมองเห็นซากพืชเรียกพีท (peat) ดินพรุส่วนใหญ่หนามากกว่า 40 เซนติเมตร บางแห่งอาจถึง 2 เมตร มีสีดำหรือน้ำตาลแก่ ดินเป็นกรดปานกลางในชั้นบนและกรดจัดในชั้นล่าง ลักษณะโครงสร้างของป่าพรุในประเทศไทยที่แท้จริงคงเหลือให้เห็นได้เฉพาะในจังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะที่พรุโต๊ะแดงซึ่งได้อนุรักษ์เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า


http://chm-thai.onep.go.th/chm/Inlandwater/webpage/PeatSwampForest.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น