บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่่่อในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การอนุรักษ์แมลงในประเทศไทย

การอนุรักษ์แมลงในประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติทางด้านแมลงจำนวนมากทั้งทาง
ชนิดและปริมาณแมลงต่างๆ เหล่านั้น มีความหลากหลายในรูปร่างลักษณะสีสัน บางชนิดมี
รูปร่างแปลกและสีสวยงามเป็นที่ต้องการเสาะแสวงหาเพื่อสะสมไว้เป็นสมบัติของตัวเองหรือ
ซื้อขายแลกเปลี่ยนจึงมีการล่าจับแมลงกันมากเพื่อประโยชน์ทางการค้า  จากการที่มีธุรกิจการ
แมลงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้น่าเป็นห่วงว่าแมลงจะถูกจับไปเป็นจำนวนมากจากสภาพ-
แวดล้อมธรรมชาติของมัน ทำให้แมลงซึ่งปกติกำลังถูกคุกคามทางด้านอื่นๆ อย่างหนักอยู่แล้ว
เช่น การตัดไม้ทำลายป่าทำให้มีปริมาณแมลงลดน้อยลง เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมใน
การแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติถูกทำลายไป กับทั้งยังมีการล่าจับแมลงเพื่อเป็นการค้ามากยิ่งขึ้น
อาจทำให้แมลงบางชนิดที่มีปริมาณน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติสูญพันธุ์ไปได้ ในด้านการอนุรักษ์
แมลงในประเทศไทย มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฉบับ คือ
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์
(The Convention on International Trade in Endangered Species
of Wild Fauna and Flora ) หรือที่เรียกย่อว่าอนุสัญญา CITES ซึ่งมี
วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตในโลก ให้เป็นประโยชน์ต่อ
มนุษย์อย่างยั่งยืน  โดยควบคุมการส่งออกการนำเข้าหรือนำผ่านแดนซึ่งชนิดพันธุ์ของ
สัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์
องุ่น ลิ่ววานิช (2540) ได้ทำการศึกษาชนิดแมลงที่จำเป็นต้องอนุรักษ์ โดยพิจารณาจากกลุ่ม
แมลงที่มีการล่าเพื่อการค้ามาก และจำนวนชนิดแมลงที่พบในปัจจุบันเปรียบเทียบกับ
ที่พบเมื่อ 30-40 ปีมาแล้ว รวมทั้งทำการตรวจสอบจากบัญชีรายชื่อแมลงในอนุสัญญา
CITES ที่มีมาตรการเข้มงวดในการนำเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศ จึงได้ทำ
รายชื่อแมลงอนุรักษ์ โดยกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวน
และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 จำนวน 13 รายการ
 
แมลงเป็นสัตว์ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก ในจำพวกสัตว์ต่างๆ ที่พบและนำมาจำแนกชนิด
ไว้แล้วซึ่งมีประมาณ 800,000 ชนิดนั้น ประมาณ 80% เป็นแมลง จำนวนชนิดของแมลงมี
มากกว่าจำนวนชนิดของพืชต่างๆ รวมกัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติ
ทางด้านแมลงอย่างอุดมสมบูรณ์ ทั้งชนิดและปริมาณ แมลงต่างๆ เหล่านี้มีความหลากหลาย
ในรูปร่างลักษณะสีสันบางชนิดมีรูปร่างแปลงและสีสวยงามเป็นที่ต้องการเสาะแสวงหาเพื่อ
สะสมไว้เป็นสมบัติของตัวเองหรือซื้อขายแลกเปลี่ยน จึงมีการล่าจับแมลงกันมากเพื่อประโยชน์
ทางการค้าจากการที่มีธุรกิจการค้าแมลงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้น่าเป็นห่วงว่าแมลงจะ
ถูกจับไปเป็นจำนวนมากจากสภาพแวดล้อมปกติของมัน ซึ่งปกติแมลงกำลังถูกคุกคามทางด้านอื่นๆ
อย่างหนักอยู่แล้ว เช่นการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณแมลงลดน้อยลง เนื่องจากสิ่งแวดล้อม
ที่เหมาะสมในการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไป กับทั้งยังมีการล่าจับแมลงเพื่อเป็น
การค้ามากยิ่งขึ้น อาจทำให้แมลงบางชนิดที่มีปริมาณน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติสูญพันธุ์ไปได้
ดังนั้นจึงได้ดำเนินการอนุรักษ์แมลง โดยเฉพาะแมลงที่สวยงามและหายาก
ปัญหาเกี่ยวกับการจับและการค้าแมลง
ในการอนุรักษ์แมลงนั้น จำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุมและแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2 ประการคือ ในด้านเกี่ยวกับการจับแมลง และด้านเกี่ยวกับการค้าแมลง ในด้านเกี่ยวกับการ
จับแมลงนั้น ส่วนใหญ่จะเข้าไปจับในแหล่งที่มีแมลงมาก เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าแมลงมีความ
สัมพันธ์กับพืช ดังนั้นในแหล่งที่มีพืชอุดมสมบูรณ์จะพบมีแมลงอาศัยอยู่มาก แหล่งดังกล่าวนี้
ได้แก่เขตป่าอนุรักษ์ต่างๆในประเทศไทย เช่น  เขตอุทยานแห่งชาติและ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สำหรับในเขตอุทยานแห่งชาตินั้น มีกฎหมายคือพระราชบัญญัติอุทยาน
แห่งชาติห้ามทำการล่าสัตว์ต่างๆ รวมทั้งแมลงอยู่แล้ว ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า มีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นกฎหมายดูแลอยู่ แต่พระราชบัญญัติฉบับเก่า
ที่ใช้อยู่ก่อน ปี พ.ศ.2535 นั้น ไม่รวมแมลงเข้าไปในความหมายของคำว่าสัตว์ป่าด้วย ดังนั้น
ในสมัยก่อน การเข้าไปจับแมลงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้อง
ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ก่อน พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับใหม่ ซึ่งใช้
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ได้รวมแมลงเข้าไปเป็นสัตว์ป่าด้วย ในเขตป่าอนุรักษ์ดังกล่าวนี้
เป็นแห่งอาศัยและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของแมลงได้เป็นอย่างดีมีแมลงชนิดต่างๆ อาศัยอยู่
เป็นจำนวนมาก รวมทั้งแมลงที่สวยงามแปลกและหายาก จึงเป็นที่ต้องการของนักค้าแมลงใน
การที่จะมีไว้ครอบครองโดยออกไปจับเอง หรือจ้างชาวบ้านจับ ในกรณีนี้ผู้ค้าแมลงจะสอน
วิธีการจับและเก็บรักษาแมลงรวมทั้งให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น สวิง ขวดฆ่าแมลง ซอง-
ใส่แมลง ตลอดจนรูปภาพแมลงที่ต้องการซื้อและราคาที่กำหนดให้ด้วย วิธีการนี้ทำให้ผู้ค้า
ได้แมลงที่แปลกสวยงามและหายาก ในขณะเดียวกันทำให้เกิดมีการลักลอบเข้าไปจับแมลง
ในป่าอนุรักษ์อยู่เสมอ
สำหรับเรื่องเกี่ยวกับการค้าแมลงนั้น แมลงที่นำมาค้าเกือบทั้งหมดเป็นแมลงที่จับมาจากแหล่ง
ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน ส่วนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงนั้นมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
ผู้ค้าจะรับซื้อแมลงจากชาวบ้านในราคาถูก แต่นำมาจำหน่ายในราคาสูง ผู้ค้าบางรายมีขอบข่าย
การซื้อขายกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และเป็นที่น่าสังเกตว่ามีชาวต่างประเทศ
หลายรายดำเนินธุรกิจด้านซื้อขายแมลงในประเทศไทย โดยทำเป็นธุรกิจส่วนตัว ไม่มีการตั้ง
เป็นบริษัทห้างร้าน นอกจากทำการค้าในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
ตามใบสั่งของลูกค้า หรือส่งบัญชีรายชื่อแมลงและราคาไปยังกลุ่มพ่อค้าแมลงในต่างประเทศ
เพื่อให้พิจารณาสั่งซื้อแมลงที่ส่งขายต่างประเทศบางตัวมีราคาแพงตัวละหลายพันบาท
ธุรกิจการส่งแมลงไปจำหน่ายต่างประเทศนั้นทำรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ผู้ค้า แต่ไม่มีการ
เสียภาษีให้แก่รัฐบาลไทย และประเทศต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติทางด้านแมลง
ไปเป็นจำนวนมาก การกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์ จากปัญหาเรื่องการจับและการค้าแมลงดังที่
ได้กล่าวมาแล้วทำให้น่าเป็นห่วงว่า แมลงที่สวยงามซึ่งมีการจับและการค้ามากนั้น จะมี
ปริมาณลดน้อยลงไปมากจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของมัน และบางชนิดอาจสูญพันธุ์
ไปได้ ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาหาแนวทางอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ขึ้น
หลักเกณฑ์ในการกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์มีดังนี้ เป็นแมลงในกลุ่มที่มีการจับเพื่อการค้ามาก
ซึ่งได้แก่พวกด้วงและผีเสื้อเป็นแมลงที่หายาก โดยพิจารณาดูว่าแมลงพวกด้วงและผีเสื้อ
ที่มีตัวอย่างเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แมลงของกรมวิชาการเกษตรนั้น ชนิดใดเป็นชนิดที่หายาก
โดยเป็นชนิดที่จับได้เมื่อ 30-40 ปีมาแล้ว แต่ต่อมาสำรวจไม่พบแมลงชนิดนั้นอีก หรือพบแต่มี
ปริมาณน้อยมาก จัดว่าเป็นแมลงที่หายาก เป็นแมลงที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อในอนุสัญญา CITES
(Convention on International Trade in Endangered Species of Wild
Fauna and Flora) หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าซึ่งพืชป่าและสัตว์ป่า
ที่กำลังสูญพันธุ์ ในบัญชีหมายเลข 2 ของอนุสัญญานี้มีรายชื่อแมลงที่พบในประเทศไทยด้วย
3 รายการ คือ ผีเสื้อภูฐาน (Bhutanitis spp.) ผีเสื้อไกเซอร์ (Teinopalpus spp.)
และผีเสื้อถุงทอง(Troides spp.) ดังนั้นในการกำหนดชนิดแมลงอนุรักษ์จึงได้กำหนดแมลง
ทั้ง 3 รายการนี้เข้าไปในบัญชีรายชื่อด้วย
สรุปแนวทางการอนุรักษ์แมลง
เพื่อให้การอนุรักษ์แมลงดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีแนวทางการอนุรักษ์ดังนี้
กำหนดชนิดของแมลงให้เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือคุ้มครองเพิ่มเติม ยังมีแมลงที่
สวยงามและหายากอีกหลายชนิดที่สมควรกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่ยัง
ไม่มีข้อมูลบางประการเกี่ยวกับแมลงเหล่านั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาโดยละเอียดก่อน
การป้องกันการลักลอบจับแมลงในเขตป่าอนุรักษ์ เช่น เขตอุทยานแห่งชาติและ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เท่าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ควบคุมดูแลป่าอนุรักษ์บางแห่ง
มักจะไม่เข้มงวดในการจับแมลง เนื่องจากมีความคิดว่าเรื่องแมลงเป็นเรื่องไม่สำคัญ
พวกเขายังมีงานอื่นๆ ที่คิดว่าสำคัญกว่า เช่น การปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า
หรือการล่าสัตว์ใหญ่เป็นต้น ซึ่งความเป็นจริงแล้วการเข้าไปจับแมลงในเขตป่าอนุรักษ์ดังกล่าว
 โดยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายบัญญัตินั้นย่อมมีความผิดทั้งสิ้น
การควบคุมการส่งแมลงออกไปต่างประเทศ ในปัจจุบันนี้การส่งแมลงออกไปยัง
ต่างประเทศ จะต้องได้รับการตรวจสอบจากกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร
ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้มีแมลงอนุรักษ์ส่งออกไปต่างประเทศได้ หลังจากนั้นกรมป่าไม้
จะออกเหนังสือรับรอง CITES ให้ ในประเทศที่เจริญแล้วเช่นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศในทวีปยุโรป ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น มีความเข้าใจในเรื่อง
การอนุรักษ์เป็นอย่างดี จึงไม่ยอมให้แมลงที่ไม่มีหนังสือรับรอง CITES เข้าประเทศ
หรือแม้แต่นักกีฏวิทยาของประเทศเหล่านั้นที่เข้ามาศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแมลงใน
ประเทศไทย และต้องการนำแมลงบางชนิดไปศึกษาวิจัยต่อในประเทศของเขา
จะต้องมีใบรับรองจากฝ่ายไทยว่าแมลงที่เขานำไปนั้นไม่ได้เป็นแมลงอนุรักษ์
และไม่ได้เป็นแมลงที่จับมาจากเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
จึงเข้าประเทศได้ เป็นการร่วมมือป้องกันไม่ให้มีการลักลอบเข้ามาจับแมลงในเขต
ป่าอนุรักษ์ของประเทศอื่น
ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์แมลงที่อนุรักษ์ วิธีการนี้ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณ
แมลงที่หายากได้มากขึ้น การดำเนินการเพาะเลี้ยงนี้ต้องมีการลงทะเบียนไว้อย่าง
ถูกต้อง เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าแมลงที่นำมานั้นเป็นแมลงที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยง
ไม่ใช่เป็นแมลงที่จับมาจากแหล่งธรรมชาติของมัน
สร้างจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ จิตสำนึกทางด้านการอนุรักษ์ได้ตื่นตัวขึ้นมากใน
ประเทศไทย เนื่องจากประชาชนได้รับทราบความจำเป็นในการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติจากสื่อต่างๆ อยู่เสมอ ผู้เขียนได้พบว่าในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ บางแห่ง
ซึ่งเคยนำแมลงใส่กรอบมาวางจำหน่าย ในปัจจุบันไม่รับมาจำหน่ายแล้วเพราะร่วมมือ
สนองตอบในการรณรงค์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้เขียนเคยได้รับโทรศัพท์จาก
เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการส่งออกขอทราบชื่อและที่อยู่ของผู้ค้าแมลงในประเทศไทย
เพราะมีบริษัทจากต่างประเทศต้องการสั่งซื้อแมลง จึงต้องการจัดหาให้ แต่เมื่อได้รับ
คำอธิบายและทราบข้อเท็จจริงต่างๆ แล้วก็เข้าใจและให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ เป็นอย่างดี
      แมลงมีชีวิตความเป็นอยู่ได้หลายรูปแบบตามสภาพแหล่งอาศัยต่างๆ กัน มีทั้งชนิดที่อยู่อย่าง
โดดเดี่ยวตามลำพังหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีสังคมของมันเอง มีทั้งชนิดที่เป็นประโยชน์และ
ให้โทษ แต่อย่างไรก็ตามแมลงมีส่วนสำคัญในระบบนิเวศวิทยา ทำให้ธรรมชาติอยู่ในสภาวะ
สมดุล นอกจากนี้ความสวยงามของแมลงยังมีส่วนช่วยทำให้โลกสดใสน่าอยู่ขึ้น จึงสมควร
อนุรักษ์แมลงไว้โดยเฉพาะแมลงที่สวยงามและหายากไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้
ที่มาhttp://www.sa.ac.th/biodiversity/contents/5insect/chapter_5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น