บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่่่อในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เนตในชีวิตประจำวันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่า

ทรัพยากรสัตว์ป่า   
        สัตว์ป่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
        การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าจำเป็นต้องอาศัยหลักวิชาการ มาตรการที่สำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าได้แก่ การป้องกัน การบำรุงรักษา และการรู้จักนำมาใช้ประโยชน์
       การแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยอยู่เสมอ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทยมีปัญหาและอุปสรรคเช่นเดียวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจสังคมและการเมืองมากกว่าปัญหาทางวิชาการ
  ความหมายของสัตว์ป่าและการจัดการ
สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในทรัพยากรประเภทที่เกิดขึ้นทดแทนและรักษาให้คงอยู่ได้ (replaceable and maintainable) การที่จะรักษาให้คงอยู่และให้มีลูกหลานเกิดขึ้นทดแทนได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการปกป้องรักษาจัดหาที่อยู่อาศัย อาหารและแหล่งน้ำให้พอแก่ความต้องการ อีกทั้งต้องมีการสงวนพันธุ์ไว้มิให้ถูกทำลายจนถึงกับสูญพันธุ์ไป เพราะถ้าหากปล่อยให้สูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่อาจที่จะหาพันธุ์อื่นมาทดแทนให้เหมือนพันธุ์เดิมได้อีก
            ประเทศไทยในสมัยก่อนมีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุม รวมทั้งมีสัตว์บางชนิดที่สวยงาม
 และหาได้ยากในโลกนี้ เช่น สมัน หรือ เนื้อสมัน (Cerbus schomburgki) และ แรด (Rhinocerossondaicus) เป็นต้น แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยได้พัฒนาความเจริญไปสู่ชนบท ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตลอดจนห้วย หนอง คลอง บึง ต่าง ๆ อันเป็นแหล่งหากินของสัตว์ป่าและสัตว์น้ำได้ถูกบุกรุกแผ้วถางทำลายกลายเป็นไร่นาที่ทำมาหากินของมนุษย์เสียจำนวนมาก ประกอบกับจำนวนประชากรได้เพิ่มมากขึ้นอุปกรณ์ในการล่าทำลายสัตว์ป่าและสัตว์น้ำทันสมัยขึ้น จึงมีการล่าสัตว์และจับปลาทุกชนิดโดยไม่มีขอบขีดจำกัดจำนวนสัตว์ป่าและสัตว์น้ำจึงร่อยหรอลงทุกวัน
            สัตว์บางชนิดได้สูญพันธุ์ไปในเวลาอันรวดเร็ว เช่น สมัน เป็นต้น ส่วนสัตว์ป่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันก็มีอยู่หลายชนิดที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ควายป่า แรด กระซู่ โคไพร สมเสร็จ ละองหรือละมั่ง เลียงผา และ กวางผา เป็นต้น ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชนชาวไทยทุกคนควรจะได้ช่วยกันรักษาทรัพยากรสัตว์ป่าให้คงอยู่ตลอดไป เพื่อเป็นมรดกตกทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์กันต่อ ๆไป ทั้งนี้เพราะประเทศใดมีสัตว์ป่าอยู่มากย่อมเป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่ประเทศนั้นๆ เพราะสัตว์ป่าเป็นเครื่องแสดงถึงระดับความเจริญหรือวัฒนธรรมทางด้านจิตใจของมนุษย์
            สัตว์ป่าบางชนิดมีคุณค่าในทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก เช่นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ไปขายยังต่างประเทศนับล้านตัว และส่งผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าไปจำหน่ายปีละนับล้านบาท เป็นต้น นอกจากนั้นสัตว์ป่าบางชนิดยังมีคุณค่าแก่การเกษตรและการป่าไม้เป็นอันมาก เช่นนกบางชนิดได้กินแมลงและศัตรูพืชอื่นๆ ที่ทำอันตรายต่อพืชผลของเกษตรกร ถ้าหากสัตว์ป่าต้องถูกทำลายไปก็ทำลายไปก็เท่ากับทำลายความสมดุลของธรรมชาติให้เสียไป ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนและเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่าเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้  
            คำว่า สัตว์ป่า โดยทั่วๆไป หมายถึงสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตลอดจนเมลงหรือแมงทุกชนิดไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในน้ำหรือบนบก ซึ่งแบ่งออกได้เป็นพวกใหญ่ๆ คือ :-
1)      สัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่า ตะกวด เหี้ย กิ้งก่า และงูชนิดต่างๆ
2)      สัตว์ครึ่งบกน้ำ เช่น กบ เขียด ปาด คางคก ฯลฯ
3)      สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น ช้าง เสือ กวาง ค้างคาว ฯลฯ
4)      สัตว์จำพวกนก เช่น นกเขา ไก่ป่า นกกระจอก นกยูง ฯลฯ
5)      แมง และแมลงทุกชนิด
6)      ปลา ตามปกติปลาที่อาศัยอยู่ในห้วยธาร หนอง คลอง บึงในป่าก็ถือว่าเป็นสัตว์ป่าด้วย  
การจัดการสัตว์ป่า หมายถึงการนำเอาหลักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสัตว์ป่ามาประยุกต์ในการดำเนินการจักการกับสัตว์ป่าในพื้นที่แห่งหนึ่ง เพื่อให้สัตว์ป่าในท้องที่นั้นๆสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ วิชาการ และการพักผ่อนหย่อนใจให้มากที่สุด และให้เป็นไปโดยสม่ำเสมอตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 
ประโยชน์ของสัตว์ป่า
สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยที่คนยังอาศัยอยู่กับธรรมชาติในป่าหรือในถ้ำ ยิ่งในสมัยปัจจุบันเมื่อมนุษย์ได้เจริญขึ้น สัตว์ป่าก็ยิ่งกลับมีบทบาทและเพิ่มความสำคัญให้แก่มนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งพอจะสรุปคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าที่มีต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้คือ
1)    ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันยังนิยมใช้เนื้อสัตว์ป่าเป็นอาหาร การใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆของสัตว์ป่า เช่น ขน เขา และหนังจึงเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป สัตว์เหล่านี้จะถูกซื้อไปเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ หรือนำไปเลี้ยงดูสัตว์หลายชนิดที่ถูกจับส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆจากสัตว์ป่าด้วยปีหนึ่งๆ คิดเป็นมูลค่านับล้านบาท อย่างไรก็ดี ประโยชน์ในด้านนี้ถ้าหากขาดการควบคุมให้รัดกุมแล้วย่อมทำให้เกิดผลเสียขึ้นได้ คือทำให้ปริมาณสัตว์ป่าลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเป็นที่น่าวิตกว่าสัตว์ป่าบางชนิดอาจจะต้องสูญพันธุ์ไป หรือทำให้ความสมดุลตามธรรมชาติต้องเสียไป อันเป็นผลเสียหายแก่เศรษฐกิจทางอ้อม เพราะว่ามีสัตว์บางชนิดโดยเฉพาะนกที่ช่วยกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร ดังนั้นการใช้ประโยชน์ด้านนี้จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
           2) ประโยชน์ในด้านวิชาการ การค้นคว้าทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ก่อประโยชน์ให้สังคมในปัจจุบันมีอยู่หลายสาขาวิชาที่จำเป็นต้องอาศัยสัตว์ป่าเป็นตัวทดลอง เช่น การใช้สัตว์ป่าในการทดลองทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การค้นคว้าทดลองทางสัตววิทยาการส่งลิงไปกับยานอวกาศให้อยู่ในอวกาศแทนมนุษย์ในระยะแรกๆเป็นต้น การค้นคว้าทดลองการริเริ่มในวิทยาการใหม่ๆได้เจริญรุดหน้าไปมากเท่าใด สัตว์ป่าที่ใช้ในการทดลองก็มีความสำคัญและจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆในยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ส่งซื้อสัตว์ป่าเลี้ยงในสวนสัตว์เพื่อให้ประชาชน นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติได้ชมและศึกษาถึงชีวิตของสัตว์ป่า ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ไม่น้อย เพราะเท่ากับเป็นการรักษาชนิดพันธุ์สัตว์ที่หายากบางชนิดไม่ให้ต้องถูกล่าจนสูญพันธุ์ไป อนาคตของคนรุ่นต่อไปอาจได้ชมและเห็นสัตว์ป่าบางชนิดก็แต่เพียงในสวนสัตว์เท่านั้น
3) ประโยชน์ในด้านการรักษาความงามและคุณค่าทางจิตใจ สัตว์ป่าทำให้ธรรมชาติดูมีชีวิตชีวา ถ้าหากปราศจากสัตว์ป่า ปราศจากนกที่มีสีสันวิจิตรพิสดารมีเสียงร้องที่ไพเราะจับใจไว้คอยประดับธรรมชาติแล้ว ชีวิตคงจะน่าเบื่อและน่าเศร้ากว่านี้การที่ได้พบได้เห็นเสียงสัตว์ป่าย่อมทำให้เกิดสิ่งบันดาลใจหรือดลใจทำให้เกิดความสุขทางจิตใจเป็นการผ่อนคลายความตึงเคลียดทางประสาทได้เป็นอย่างดี บางท่านชอบนำเอาสัตว์ป่าไปเลี้ยงไว้และใช้เวลาพักผ่อนกับการเลี้ยงดู ศึกษาการเคลื่อนไหวและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า บางท่านชอบเดินทางไปดูสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติเมื่อได้พบเห็นสัตว์ป่าแปลกๆและสวยงามทำให้รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจมีความสดชื่นดีใจ เกิดพลังที่จะคิดสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไปอีก ซึ่งเป็นประโยชน์ทางจิตใจที่ตีค่าเป็นเงินตราไม่ได้
4)                       ประโยชน์ในด้านการพักผ่อนใจ มนุษย์เมื่อได้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่มีธุรกิจการงานต่างๆมากมายและจำเจอยู่ทุกวันย่อมเกิดความเบื่อหน่าย จึงมักจะหาโอกาสไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามท้องที่ต่างๆ ที่มีธรรมชาติสวยงาม เช่น ออกไปเที่ยวล่าสัตว์ชมสัตว์ป่า สะกดรอยสัตว์ ศึกษาชีวิตสัตว์ป่า เพื่อให้ได้รับความเพลิดเพลินเจริญใจ นอกนั้นยังเป็นการออกกำลังทำให้จิตใจแจ่มใสคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการงานต่างๆ ลงได้นับว่าสัตว์ป่ามีบทบาทสำคัญในการใช้ประโยชน์ในด้านนี้ไม่น้อย 
หลักการจัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่า
สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเพิ่มจำนวนมากขึ้นได้ แต่ถ้าสัตว์ป่าชนิดใดสูญพันธุ์
ไปแล้วก็ไม่สามารถสร้างพันธุ์ของสัตว์ป่าชนิดนั้นขึ้นมาได้อีก การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าจึง
ควรมีหลักในการดำเนินการดังนี้
            1) การป้องกัน การป้องกันให้สัตว์ป่าคงอยู่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการจัดการสัตว์ป่า เพราะถ้าหากสามารถที่จะคุ้มครองรักษาสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ไว้ได้แล้วการดำเนินงานในเรื่องอื่นๆที่จำเป็นต่อการจัดการสัตว์ป่าย่อมกระทำตามหลักวิชาการให้บังเกิดผลดีได้
            2) การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำและอาหาร หมายถึงการป้องกัน การบำรุงรักษาและการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย  แหล่งน้ำและอาหารของสัตว์ป่าให้อยู่ในสภาพที่ดีและไม่ถูกทำลายให้สูญหายไป เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ป่าให้มากที่สุด
            3)  การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ การค้นคว้าวิจัยถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการจัดการสัตว์ป่าในอนาคต ต่อไปเมื่อกิจการด้านสัตว์ป่าได้เจริญมากขึ้น งานป้องกันและปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ป่าจะลดลง งานค้นคว้าวิจัยกลับจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับจึงควรที่จะเริ่มงานค้นคว้าวิจัยทางวิชาการให้ควรคู่กับงานด้านป้องกันและปราบปรามด้วยเพื่อจะได้หาทางจัดการให้สัตว์ป่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในระดับที่พอเหมาะกับปริมาณอาหารและที่หลบภัยในท้องที่นั้น ๆ
4)             การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่า ตามหลักของการอนุรักษ์นั้นมิได้มุ่งแต่ที่จะเก็บรักษาทรัพยากรนั้นๆ ให้คงอยู่ตลอดไปเท่านั้น แต่ยังต้องรู้จักนำทรัพยากรนั้นๆ มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรนั้น ๆ อีกด้วย ในเรื่องสัตว์ป่าก็เช่นกันจะต้องหาวิธีที่จะนำเอาสัตว์ป่าต่างๆ มาใช้ให้บังเกิดประโยชน์แก่สังคมในทางที่เหมาะสม เช่นจัดสถานที่ชมสัตว์ป่าให้ประชาชนได้เข้าไปใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือศึกษาหาความรู้ตามสมควรถ้าหากมีจำนวนสัตว์ป่ามากพอก็ควรเปิดให้มีการล่าสัตว์นั้นๆโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ และควรกำหนดกฎระเบียบต่างๆที่จะใช้ปฏิบัติในการล่าสัตว์ด้วย 
อุปสรรคและปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ป่าต้องลดน้อยลง
สาเหตุที่ทำให้จำนวนสัตว์ป่าต้องลดน้อยลงมีอยู่ 2 ประการใหญ่ ด้วยกันคือ :-
1) การล่าสัตว์โดยไม่มีขอบเขตขีดจำกัดในอดีตและปัจจุบัน การที่ประชาชนทั่วๆไป ในชนบทล่าสัตว์ป่านั้น ส่วนใหญ่ต้องการที่จะล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหารหรือเพื่อเป็นการค้า เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้ครอบครัว ส่วนชาวเมืองหรือผู้มีอิทธิพบทั้งหลายต้องการล่าสัตว์เพื่อความสนุกสนาน เป็นการทดลองอาวุธและความแม่นยำหรือล่าด้วยความคะนองมือ หรือเพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีความเก่งกล้าสามารถในเชิงใช้อาวุธเสียมากกว่าที่จะล่าเพื่อใช้กินเป็นอาหาร ประกอบกับอาวุธที่ใช้ล่าทันสมัยขึ้น กลุ่มของผู้มีอิทธิพลที่ไม่รู้จักรับผิดชอบมีมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้สัตว์ป่าหลายชนิดถูกล่าจนแทบจะสูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย
2) การทำลายที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของสัตว์ป่า เนื่องจากประเทศได้พัฒนาความเจริญมากขึ้น และประชากรของประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการที่ทำมาหากินได้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจึงถูกบุกรุกทำลายเสียเป็นจำนวนมาก ทำให้สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดแหล่งน้ำแหล่งอาหารบางชนิดก็ต้องหนีไปอาศัยในป่าลึก หรือไม่ก็ถูกล่าตายไปในที่สุด ทำให้จำนวนสัตว์ป่าลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว บางชนิดก็ได้สูญพันธุ์แล้ว และบางชนิดก็กำลังจะสูญพันธุ์ภายในไม่ช้า
จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่น่าวิตกว่าสัตว์ป่าจะสูญพันธุ์ไปในที่สุดดังนั้นการที่จะสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเอาไว้ให้ได้นั้น จำเป็นจะต้องขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นให้จงได้
ทรัพยากรสัตว์ป่าในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2504 นี้เอง แต่เดิมนั้นถือว่าสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่ติดมากับแผ่นดิน ใครจะเก็บหาหรือล่าได้ตามความพอใจ ยกเว้นช้างป่าซึ่งได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองช้างป่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 ทั้งนี้ก็เนื่องจากช้างป่าเป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์มากในสมัยก่อน โดยเฉพาะช้างเผือกถือว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และแสดงถึงบุญญาธิการของกษัตริย์ในสมัยนั้นๆ ส่วนช้างป่าทั่วไปก็มีประโยชน์ในราชการสงคราม การเดินทางไกลในถิ่นทุรกันดาร การทำไม้และการแสดงต่างๆ ช้างป่าจึงได้รับการคุ้มครองมาก่อนสัตว์ป่าอื่น ๆ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย  
    เนื่องจากสัตว์ป่าได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จากสาเหตุดังกล่าวแล้วข้างต้น จนเป็นที่น่าวิตกว่าจะหมดสิ้นจากแผ่นดินไทยเป็นเหตุให้มีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นการณ์ไกลและได้แสดงออกซึ่งความห่วงใยและเริ่มเรียกร้องให้รัฐบาลสนใจต่อทรัพยากรสัตว์ป่า ในที่สุดรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ออกพระบัญญัติและวางระเบียบการใช้ประโยชน์และร่างแนวทางการจักการสัตว์ป่าของประเทศขึ้นในปี พ.ศ.2503 โดยอ้างเหตุผลดังนี้คือ “สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่ายิ่งของประเทศชนิดหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ วิทยาการและรักษาความงามตลอดจนคุณค่าธรรมชาติไว้ แต่ปรากฏว่าในปัจจุบันนี้สัตว์ป่าที่มีค่าบางชนิดได้ถูกล่าและทำลายจนสูญพันธุ์ไปแล้วและบางชนิดก็กำลังจะสูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สัตว์ป่าโดยเฉพาะ จึงสมควรตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นไว้เพื่อประโยชน์ของรัฐและประชาชนส่วนรวมให้สมกับที่ชาวไทยส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ “ พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 “ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2504 เป็นต้นไป ต่อมาได้ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 และได้ตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ขึ้นใช้แทนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคือบริเวณพื้นที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่า กระทำได้โดยประกาศพระราชกฤษฎีกา จึงนับว่าเป็นพื้นที่สำคัญยิ่งต่อการอยู่รอดของสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาไปตามความเจริญของประเทศ กรมป่าไม้เป็นส่วนราชการของรัฐที่มีน่าที่รับผิดชอบในเรื่องทรัพยากรสัตว์ป่าได้เสนอรัฐบาลจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นหลายแห่งด้วยกัน โดยกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศปัจจุบันมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอยู่ 36 แห่ง ดังตารางที่ 10 นอกจากเขตรักษาพันธุ์ป่าแล้ว รัฐบาลยังกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 42 เขตห้ามล่าสัตว์ป่านี้ หมายถึง อาณาบริเวณพื้นที่ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิดหรือเป็นที่ที่สัตว์จำเป็นต้องใช้สำหรับกิจกรรมบางอย่างในการดำรงชีวิต เช่นเป็นที่ผสมพันธุ์เลี้ยงลูกอ่อน เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่ลงพักในระหว่างการเดินทางย้ายถิ่นฐานและอื่นๆ พื้นที่ที่ได้กำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามักจะมีขนาดไม่กว้างขวางมากนัก และส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่ใช้ในราชการหรือเพื่อสาธารณะประโยชน์หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเท่าที่รัฐบาลได้จัดตั้งเรียบร้อยมี 48 แห่งด้วยกัน (ตารางที่ 11) นอกจากนั้นกรมป่าไม้ยังจัดให้มีศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า สถานีวิจัยสัตว์ป่า อุทยานสัตว์ป่า และศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า (ตารางที่ 12) อีกด้วย
 แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าแห่งชาติ
    การมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 และต่อมาเป็นพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 นับเป็นนิมิตดีสำหรับประเทศไทยที่จะได้มีทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างอุดมสมบูรณ์ต่อไป ในเมื่อได้มีกฎหมายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติ หน้าที่ต่อไปก็คือการควบคุมและดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และหาทางที่จะปรับปรุงให้กฎหมายนี้มีความสมบูรณ์และเหมาะสมยิ่งๆ ขึ้นไป การที่จะให้การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น จำเป็นต้องมีหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่รับผิดชอบในด้านนี้ที่เข็มแข็งและมีความสามารถ อีกทั้งยังต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างจริงจังอีกด้วย ปัจจุบันได้มีหน่วยงานโดยตรงในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าคือส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า (กองอนุรักษ์สัตว์ป่าเดิม) กรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เนื่องจากส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่ายังเป็นหน่วยงานใหม่ ยังขาดทั้งทางด้านงบประมาณและกำลังคนที่ใช้ในการบริหารและรักษากฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการที่มีความรู้ทางด้านนี้อย่างแท้จริง ในด้านของประชาชนนั้น ส่วนใหญ่ยังเข้าใจและเห็นความสำคัญของทรัพยากรสัตว์ป่าน้อยมาก แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่านั้น พอสรุปได้ดังนี้ :- 
                1)   มีกฎหมายที่เหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์
2)   การวางแผนการจัดการสัตว์ป่า การวางแผนการจัดการสัตว์ป่าให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยความรู้ทางทฤษฎี ความชำนาญในท้องที่ และข้อมูลในด้านต่างๆของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ที่สำคัญคือต้องมีจุดมุ่งหมายหรือนโยบายที่แน่นอนในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
3)    การเตรียมกำลังคนและนักวิชาการทางด้านสัตว์ป่า
4)    การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทรัพยากรสัตว์ป่าเป็นทรัพยากรที่ถูกใช้ประโยชน์มานานแต่ประชาชนทั่วไป
ยังขาดความรู้สึกสำนึกถึงคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าดังนั้นรัฐบาลโดยเฉพาะกรมป่าไม้ควรเน้นหนักในด้านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้ถึงความสัมพันธุ์และประโยชน์ของทรัพยากรนี้เพื่อที่จะได้ให้ความร่วมมือต่อรัฐบาลในด้านการอนุรักษ์ต่อไป
5      การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์ป่าดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าสัตว์ป่า
เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้ จึงควรที่จะใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าแทนที่จะปล่อยให้หมุนเวียนไปในระบบนิเวศโดยไร้ประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่การใช้ประโยชน์นี้จะต้องให้ถูกต้องตามวิธีการที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้โดยทั่วถึงกัน
6)    การเพาะพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อให้ทรัพยากรสัตว์ป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่จะใช้ประโยชน์ตลอดจนใช้เป็นสินค้าออกของประเทศและรักษาพันธุ์ให้คงไว้ รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยเพาะพันธุ์สัตว์ป่าขึ้น สัตว์ป่าที่ได้จากการเพาะพันธุ์นี้อาจปล่อยเข้าป่าในฤดูกาลที่เหมาะสมและอาจเปิดให้ล่าในกาลต่อไป จะเห็นได้ว่านโยบายทางวิชาการและการเตรียมบุคลากรจำเป็นต้องสอดคล้องอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ด้วยที่ม

ที่มา   http://www.ubonzoo.com/wild_animals/wild_worth_main.htm   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น